Home Tags 6ปีERS

Tag: 6ปีERS

รู้จักไฮโดรเจน พลังงานแห่งอนาคต

ไฮโดรเจนมีคุณสมบัติพิเศษ คือ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่เป็นพิษ เป็นธาตุที่มีมากที่สุดในจักรวาล ดวงอาทิตย์ก็มีไฮโดรเจนเป็นส่วนประกอบส่วนมาก ไฮโดรเจนตามธรรมชาติบนโลก จะรวมอยู่กับธาตุอื่นในสถานะต่าง ๆ เช่น ไฮโดรเจนรวมกับออกซิเจนคือ น้ำ (H2O) ไฮโดรเจนรวมกับคาร์บอน คือ ไฮโดรคาร์บอน ที่พบในก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และน้ำมัน ไฮโดรเจน ถือว่าสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในฐานะแหล่งพลังงาน และยังใช้เป็น พาหะพลังงาน หรือ...
video

สายส่งไฟฟ้าที่ยาวที่สุดในโลก ส่งไฟจากเดนมาร์กไปอังกฤษ

เดนมาร์กสามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมได้จนเกินพอและจะมีการส่งไฟฟ้าให้สหราชอาณาจักรใช้ด้วยในเวลาอันใกล้ ด้วยสายส่งไฟฟ้าที่มีความยาวที่สุดในโลกถึง 765 กิโลเมตร วางตัวลอดใต้ทะเลเหนือจากเมือง Vejen ไปยัง Lincolnshire เมื่อก่อสร้างเสร็จ ภายในปี 2023 บ้านเรือนในสหราชอาณาจักรกว่า 1.4 ล้านหลังคาเรือน จะมีไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดใช้ อังกฤษเป็นประเทศแรกที่ตั้งเป้าจะปล่อยคาร์บอน Net-Zero ภายในปี 2050 เดนมาร์กลงทุนอย่างจริงจังกับนวัตกรรมกังหันลมมาตั้งแต่ทศวรรษ 1970 เมื่อปีที่แล้ว 47% หรือเกือบครึ่งของความต้องการไฟฟ้าในประเทศก็ได้มาจากพลังงานลม ในกรณีนี้...

ยางรถยนต์อาจเป็นตัวการที่ทำให้น้ำแข็งอาร์กติกละลาย

จากการใช้งานยางรถยนต์ที่ถูกบดอัดบนถนนระหว่างการเดินทางของมนุษย์​ ทำให้เกิดอนุภาคพลาสติกขนาดจิ๋ว หรือ Microplastic หลุดออกมาได้ เนื่องจากยางรถยนต์ทำมาจากพลาสติกและยาง เมื่อใช้งานอนุภาคพลาสติกเล็ก ๆ ก็จะหลุดออกมาและฟุ้งกระจายไปในอากาศ เมื่อถูกสายลมและสายฝนพัดพา ก็จะชะล้างไมโครพลาสติกเหล่านี้ลงสู่แหล่งน้ำและมหาสมุทรในที่สุด มีงานวิจัยค้นพบว่า 28% ของไมโครพลาสติกในมหาสมุทรนั้นมาจากยางรถยนต์ ! อย่างไรก็ตาม Microplastic ทั้งหมดก็ไม่ได้ไหลลงทะเล แต่สามารถพัดพาไปได้ในอากาศ และเดินทางไปได้ไกลถึงขั้วโลกซึ่งถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็งและหิมะ ทำให้พื้นผิวที่ควรจะเป็นสีขาวโพลน มีสีเข้มขึ้นและยิ่งดูดซับแสงอาทิตย์มากเข้าไปอีก จนไปเร่งการละลายของน้ำแข็งขั้วโลก แม้ Microplastic จะไม่ใช่ตัวการหลักที่ทำให้โลกร้อนขึ้น...

รัฐบาลญี่ปุ่นสนับสนุนรถ EV ?

รัฐบาลญี่ปุ่นส่งเสริมการใช้รถ EV อย่างจริงจัง ช่วยให้ยานยนต์แห่งอนาคตออกสู่ตลาดในราคาจับต้องได้มากขึ้น และเป็นโมเดลที่น่าเรียนรู้สำหรับไทย หลังจากประสบความสำเร็จจากรถยนต์ไฮบริดแล้ว ค่ายรถใหญ่ๆ ของญี่ปุ่นก็เริ่มหันมาทุ่มเทให้การพัฒนารถ EV เพื่อเจาะตลาดแข่งกับค่ายรถจากอเมริกาและยุโรป ล่าสุด Toyota ประกาศร่วมทุนกับ Mazda เพื่อสร้างยานยนต์พลังไฟฟ้า ทั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นยังมุ่งมั่นที่จะลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกตาม Paris Agreement ลงอีก 26% ภายในปี 2030 อีกด้วย แล้วญี่ปุ่นจะทำได้อย่างไร ? ...

โซลาร์เซลล์หมดอายุจัดการอย่างไร ?

Q: เมื่อแผงโซลาร์เซลล์หมดอายุ จะจัดการอย่างไร? A: แผงโซลาร์เซลล์ที่ไม่สามารถใช้งานได้ จำเป็นต้องมีการจัดการอย่างถูกต้อง ไม่ควรนำไปทิ้ง เพราะมีองค์ประกอบทั้งสารอันตราย เช่น ตะกั่ว แคดเมียม และสารไม่อันตราย แต่มีมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ เช่น เงิน แพลตตินั่ม หรือโลหะหายาก เช่น เทลลูเรียม เจอร์มาเนียม และ อินเดียม ทำให้จำเป็นต้องมีการจัดการอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันสารอันตรายไม่ให้ปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม ดังเช่นหลายประเทศในโลกที่ตื่นตัวเรื่องสิ่งแวดล้อมมีมาตรการต่าง...
video

ไฟฟ้าพลังงานทดแทน โดยพลังน้ำจากฝาย

ฝาย นอกจากจะเป็นที่กักเก็บน้ำแล้ว เมื่อติดตั้ง “ระบบกังหันน้ำแรงดันต่ำ” ก็กลายเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดได้ด้วย แม้จะเป็นฝายในชุมชนก็สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นอีกทางเลือกให้คนในชุมชนที่มีฝายเก็บน้ำตามลำธารให้ได้ใช้พลังงานสะอาดราคาถูก สร้างการมีส่วนร่วมจากชุมชน เพื่อความมั่นคงและอิสรภาพทางพลังงานให้กับคนในพื้นที่ได้อีกด้วย หลักการทำงาน “ระบบกังหันน้ำแรงดันต่ำ” เริ่มจากการวางท่อจากฝายให้ไหลไปสู่พื้นที่ต่ำกว่า โดยติดตั้งกังหันน้ำขนาดเล็กเอาไว้ในพื้นที่ปิดขนาดเล็ก เพื่อให้เกิดน้ำวนและเป็นตัวหมุนกังหันน้ำ ผลิตกระแสไฟฟ้าแรงดันต่ำ กักเก็บไว้ในแบตเตอรี่เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในครัวเรือนกันต่อไป จากวิดีโอ ชุมชนเคยใช้โซลาร์เซลล์แต่ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้เพียงพอ จึงมีการนำระบบกังหันน้ำแรงดันต่ำมาใช้เพิ่มเติม เมื่อได้ปรับใช้ก็มีการติดตั้งระบบกังหันน้ำแรงดันต่ำนี้เข้ากับฝายขนาดเล็กอื่น ๆ ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก #6ปีERS #เข้าใจเพื่อไปต่อ #ERSFellowship...
video

พลังงานไทย เพื่อใคร ??

พลังงานไทย เพื่อใคร ??ปฏิรูปพลังงาน.. เพื่อใคร ?? พลังงานไทย อะไรต้องเปลี่ยน ? พบคำตอบของทุกเรื่อง “พลังงาน” ในคลิปนี้ 📌 . #6ปีERS #ERSFellowship #เข้าใจเพื่อไปต่อ #ปฏิรูปพลังงานเพื่อใคร #พลังงานไทยเพื่อใครPosted by กลุ่มปฏิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืน ERS on Friday, July 24, 2020 พลังงานไทย เพื่อใคร ?? ปฏิรูปพลังงาน.. เพื่อใคร ?? พลังงานไทย อะไรต้องเปลี่ยน ? พบคำตอบของทุกเรื่อง...

เอทานอลไทยมาจากไหน?

ในประเทศไทยวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตเอทานอลคือ กากน้ำตาล มันสำปะหลัง และน้ำอ้อย เมื่อผสมกับน้ำมันเบนซิน จะกลายเป็นแก๊สโซฮอลล์ เอทานอล (Ethanol) หรือ เอทิลแอลกอฮอล์ (Ethyl Alcohol) เป็นพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดกว่าเชื้อเพลิงปิโตรเลียม เอทานอลผลิตได้จากวัตถุดิบทางการเกษตร สามารถนำไปผสมกับน้ำมันเบนซินเพื่อใช้เป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ หรือใช้เดี่ยวๆ เป็นเชื้อเพลิงได้เช่นกัน หากไม่ใช่วัตถุดิบประเภทน้ำตาลจะต้องนำมาเข้ากระบวนการย่อยสลายด้วยเอนไซม์เพื่อให้แปรสภาพเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวก่อน จากนั้นจึงนำไปหมักด้วยเชื้อจุลินทรีย์ที่เหมาะสมกับวัตถุดิบและกลั่นออกมา แล้วจึงเข้าสู่กระบวนการแยกน้ำให้ได้เอทานอลบริสุทธิ์ โรงงานผลิตเอทานอลในไทยส่วนใหญ่อยู่ในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ต่อยอดมาจากธุรกิจเดิมที่เกี่ยวเนื่องกัน นับเป็นอุตสาหกรรมสำคัญที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้วัตถุดิบทางการเกษตรได้ดีอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ในอดีตเมื่อเริ่มมีแก๊สโซฮอล์ ราคาเอทานอลถูกกำหนดให้อ้างอิงราคาตลาดโลก และถูกกว่าราคาน้ำมัน แต่ต่อมาจนปัจจุบันราคาเอทานอลบ้านเรากำหนดให้อิงต้นทุนและแพงกว่าราคาตลาดโลก รัฐควรปรับปรุงโครงสร้างให้ราคาเอทานอลแข่งขันได้มากกว่านี้...

BJ Services บริษัท Hydraulic Fracturing ในอเมริกายื่นล้มละลาย

จากสภาวะราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับต่ำ ทำให้การผลิตปิโตรเลียมจากหินดินดาน (Shale) ลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบโดยตรงต่อ บริษัทน้ำมันและบริษัทที่ให้บริการเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต ทำได้บริษัทต่างๆ ขาดสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจและจำเป็นต้องยื่นล้มละลายแล้วหลายราย (ตามที่เคยนำเสนอไปก่อนหน้านี้) โดยวันจันทร์ที่ผ่านมา (20 ก.ค. 63) บริษัท BJ Services ที่ให้บริการ Hydraulic Fracturing รายใหญ่ในอเมริกา ได้ยื่นล้มละลายเป็นรายล่าสุด อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.reuters.com/article/us-bj-services-bankrutpcy-urgent/oil-firm-bj-services-files-for-chapter-11-bankruptcy-idUSKCN24L0HN #6ปีERS #ERSFellowship #เข้าใจเพื่อไปต่อ #จับข่าวคุย #Fracturing ภาพ: The Record...

ขยะที่จะนำไปผลิตไฟฟ้าได้ ต้องเป็นขยะแบบไหน ?

Q: ขยะที่จะนำไปผลิตไฟฟ้าได้ ต้องเป็นขยะแบบไหน ? A: ขยะที่นำมาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าได้มักจะเป็นขยะครัวเรือนหรือขยะชุมชน เช่น ขยะอินทรีย์ และขยะที่สามารถเผาไหม้แล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานได้ เช่น ขยะประเภทพลาสติก กระดาษ และยาง เป็นต้น ส่วนขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่นำเข้าจากต่างประเทศมารีไซเคิลนั้น ไม่เหมาะสำหรับทำเป็นเชื้อเพลิงให้โรงไฟฟ้าขยะจนกว่าจะคัดแยกเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ เชื้อเพลิงขยะที่เข้าโรงไฟฟ้าส่วนใหญ่มาจากโรงแปรรูปขยะเป็น RDF ซึ่งต้องแยกขยะ และปรับขนาดให้เหมาะสม ก่อนจะนำมาเป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าได้ นอกจากนี้ RDF มีความสะดวกในการขนส่ง และไม่ต้องมีใบอนุญาตขนส่งขยะ...

MOST POPULAR