แผงโซลาร์เซลล์จากขยะเศษอาหาร

0
1902

แผงโซลาร์เซลล์จากขยะเศษอาหาร ผลิตไฟฟ้าได้แม้ไม่มีแดด

Carvey Ehren Maigue นักศึกษาจากมหาวิทยาลัย Mapua ประเทศฟิลิปปินส์ ได้ประดิษฐ์แผงโซลาร์เซลล์ชนิดใหม่ที่ผลิตไฟได้แม้จะมีแสงน้อย ซึ่งทำให้มีเวลาทำงานได้เกือบ 50% ในแต่ละวัน ขณะที่โซลาร์เซลล์ทั่ว ๆ ไปจะมีเวลาทำงานได้ราว 15-25%

นักประดิษฐ์ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการที่แว่นตาของเขาเปลี่ยนเป็นสีเข้มด้วยรังสีอัลตราไวโอเล็ตแม้ในช่วงที่มีแสงแดดน้อย โดยชื่อ AuREUS นั้นมาจากคำว่า Aurora Borealis (แสงเหนือ)

แผงโซลาร์เซลล์แบบใหม่ในชื่อ “AuREUS” มีส่วนประกอบของอนุภาคเรืองแสงซึ่งสามารถสกัดจากขยะเศษอาหาร โดยจะถูกกักเก็บไว้ในแผ่นเรซิน เมื่อถูกกระทบด้วยรังสี UV ที่มีในแสงแดด อนุภาคเหล่านั้นจะดูดซับพลังงานและสามารถเรืองแสงออกมา แสงจะถูกสะท้อนไปยังเซลล์แสงอาทิตย์ปกติ (PV Cell) ที่กรอบของแผ่นเรซิ่น แล้วแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรงต่อไปเช่นเดียวกับแผงโซลาร์เซลล์ทั่วไป โดยแผ่นเรซิน AuREUS นี้มีขนาด 3×2 ฟุต ซึ่งเหมาะจะทำเป็นผิวผนังภายนอกอาคาร และสามารถผลิตออกมาในรูปแบบอื่นได้ด้วย เช่น ผนังโค้ง โดยที่ประสิทธิภาพการผลิตไฟไม่ได้ลดลงแต่อย่างใด

AuREUS ได้รับรางวัล James Dyson Sustainability ประจำปี 2020 ซึ่งจะเอื้อโอกาสให้พัฒนาสิ่งประดิษฐ์ไปใช้ได้จริงในอนาคต

ℹ️ที่มา

https://mymodernmet.com/aureus-carvey-ehren-maigue/…

#ERSFellowship #เข้าใจเพื่อไปต่อ #โซลาร์เซลล์ #ขยะเศษอาหาร

แสงดความคิดเห็นได้ที่:

https://www.facebook.com/ERSFellowship/photos/a.299602063583142/1527054567504546/