Home Tags เข้าใจเพื่อไปต่อ

Tag: เข้าใจเพื่อไปต่อ

ทำไม ราคาน้ำมันขายปลีกหน้าปั๊มที่ “มาเลเซีย” ถูกกว่าไทย ?

เพราะโครงสร้างราคาน้ำมันไทยเก็บภาษี แต่มาเลเซียแทบไม่เก็บแถมมีการอุดหนุนราคาโดยรัฐอีกด้วย แล้วทำไมไม่นำเข้าน้ำมันมาเลเซียมาขายในไทย ? เนื่องจากราคาเนื้อน้ำมันใกล้เคียงกัน ถึงนำเข้ามาก็ไม่ทำให้ถูกลงเพราะเงินอุดหนุนไม่มาด้วยและถึงฝั่งไทยก็ต้องเสียภาษีตามกฎหมายไทย ย้อนดูสถานการณ์ที่บริษัท Petronas บรรษัทน้ำมันแห่งชาติของมาเลเซีย ที่เคยเข้ามาขายน้ำมันในเมืองไทย ก็ต้องขายในราคาตลาดเท่า ๆ กับบริษัทอื่น ไม่ได้ราคาถูกอย่างที่ขายในมาเลเซีย สุดท้าย Petronas ก็ต้องถอนตัวออกไป เหมือนบริษัทต่างชาติหลายเจ้า เช่น Q8 BP Jet ซึ่งล้วนพบว่า...

รถเติมน้ำมันเครื่องบิน ปล่อยคาร์บอล 0 ใช้แล้วที่ดอนเมือง

รถเติมน้ำมันอากาศยานที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า 100% นำมาใช้แล้วที่สนามบินดอนเมือง รถเติมน้ำมันอากาศยานพลังงานไฟฟ้ารุ่น EV-HDC17LPM เป็นรถเติมน้ำมันแบบ Electric Hydrant Cart ที่ประกอบไปด้วยรถแทรกเตอร์พลังงานไฟฟ้าและรถเติมน้ำมันแบบ Refueler ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าทั้งระบบ ทั้งนี้ ตัวรถยังมีขนาดเล็กลงเพื่อความคล่องตัวมากยิ่งขึ้นในการเติมน้ำมันอากาศยานทุกรุ่น รถเติมน้ำมันนี้มีอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ จึงช่วยลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงดีเซลในการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจได้มากถึง 6,300 ลิตร/ปี เทียบเท่ากับปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 15 ตัน/ปี ถือเป็นการผลักดันการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในพื้นที่ท่าอากาศยานได้อีกทางหนึ่ง ที่มา https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/912320 #ERSFellowship #เข้าใจเพื่อไปต่อ #ลดคาร์บอนเป็นศูนย์ แสงดความคิดเห็นได้ที่: https://www.facebook.com/ERSFellowship/photos/a.299602063583142/1529214723955197/  

สำรวจตลาดไฟฟ้าเสรี EU: ข้อดี ข้อเสีย และสิ่งที่ต้องแก้

สำรวจตลาดไฟฟ้าเสรี EU: ข้อดี ข้อเสีย และสิ่งที่ต้องแก้ เป็นเวลากว่า 2 ทศวรรษที่สหภาพยุโรปก้าวเข้าสู่ระบบตลาดไฟฟ้าเสรี จากวันนั้นจนวันนี้โครงสร้างการผลิตและการจำหน่ายไฟฟ้ารวมทั้งรูปแบบของตลาดเปลี่ยนแปลงไปมาก การแข่งขันเสรีเข้ามาแทนที่การดำเนินการแบบผูกขาด ช่วยให้ประสิทธิภาพของระบบดีขึ้น แต่ก็พ่วงมาด้วยความท้าทายอีกมากเช่นกัน ข้อดี: กว่า 28 ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปได้รวมเป็นหนึ่งเดียวเพื่อสร้างตลาดไฟฟ้าเสรี ช่วยให้ประชากรกว่า 500 ล้านคนได้รับประโยชน์ในด้านราคาและประสิทธิภาพของระบบไฟฟ้าที่เป็นธรรมและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ข้อเสีย: ตลาดในสหภาพยุโรปส่วนใหญ่แบ่งเป็น Bidding Zone ตามประเทศ แต่การซื้อขายข้ามโซนยังมีข้อจำกัดเพื่อป้องกันผลกระทบต่อเสถียรภาพของระบบในแต่ละประเทศ จึงยังไม่สามารถใช้ประโยชน์สูงสุดของความเป็นตลาดใหญ่ในระดับสหภาพยุโรปได้ สิ่งที่ยังต้องแก้ไข: ขอบเขตของโซนต่างๆ...

แผงโซลาร์เซลล์จากขยะเศษอาหาร

แผงโซลาร์เซลล์จากขยะเศษอาหาร ผลิตไฟฟ้าได้แม้ไม่มีแดด Carvey Ehren Maigue นักศึกษาจากมหาวิทยาลัย Mapua ประเทศฟิลิปปินส์ ได้ประดิษฐ์แผงโซลาร์เซลล์ชนิดใหม่ที่ผลิตไฟได้แม้จะมีแสงน้อย ซึ่งทำให้มีเวลาทำงานได้เกือบ 50% ในแต่ละวัน ขณะที่โซลาร์เซลล์ทั่ว ๆ ไปจะมีเวลาทำงานได้ราว 15-25% นักประดิษฐ์ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการที่แว่นตาของเขาเปลี่ยนเป็นสีเข้มด้วยรังสีอัลตราไวโอเล็ตแม้ในช่วงที่มีแสงแดดน้อย โดยชื่อ AuREUS นั้นมาจากคำว่า Aurora Borealis (แสงเหนือ) แผงโซลาร์เซลล์แบบใหม่ในชื่อ “AuREUS” มีส่วนประกอบของอนุภาคเรืองแสงซึ่งสามารถสกัดจากขยะเศษอาหาร โดยจะถูกกักเก็บไว้ในแผ่นเรซิน...

ราคาน้ำมันร่วงหลังโควิดกลายพันธ์ุ ในสหราชอาณาจักร

ราคาน้ำมันร่วงหลังจากการกลายพันธุ์ของโควิด-19 ในสหราชอาณาจักร ก่อนหน้านี้ในช่วงเดือนตุลาคม บริษัทผู้พัฒนาวัคซีนหลายๆ แห่ง ได้ประกาศถึงความสำเร็จในการทดลองพัฒนาวัคซีนป้องการโควิด-19 ทำให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นว่าปริมาณการใช้พลังงานกำลังจะฟื้นตัวสู่ภาวะปกติในปีหน้า ส่งผลให้ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเกือบ 1 ใน 3 แต่หลังจากพบว่ามีการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส โควิด-19 ในสหราชอาณาจักรเมื่อวันก่อน ทำให้มีการพิจารณามาตรการล็อคดาวน์ในกรุงลอนดอนและภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษและมีการจำกัดการเดินทางของประเทศในทวีปยุโรป ทำให้ความต้องการการใช้พลังงานลดลงอย่างมาก ราคาน้ำมันจึงปรับตัวลดลงมากที่สุดในรอบ 7 สัปดาห์ต่ำกว่า 50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จากความกังวลของนักลงทุนที่คาดว่าเหตุการณ์การระบาดโควิด-19 จะยังยืดเยื้อต่อไป อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/34BhhI6 #ERSFellowship #เข้าใจเพื่อไปต่อ #จับข่าวคุย แสงดความคิดเห็นได้ที่: https://www.facebook.com/ERSFellowship/photos/a.299602063583142/1526438170899519/  

ก๊าซธรรมชาติ คือ ของแถมจากการกลั่นน้ำมัน จริงหรือ ?

Q: ก๊าซธรรมชาติ คือ ของแถมจากการกลั่นน้ำมัน จริงหรือ ? A: ไม่ใช่ค่ะ ก๊าซธรรมชาติได้มาจากการขุดเจาะและผลิตจากแหล่งปิโตรเลียมใต้ดินหรือใต้ทะเล โดยที่แหล่งปิโตรเลียมที่พบในธรรมชาติมักจะมีทั้งน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ แต่จะแยกประเภท ถ้าไม่เป็นก๊าซธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ (บ่อก๊าซ) ก็จะเป็นน้ำมันเป็นส่วนใหญ่ (บ่อน้ำมัน) ส่วนก๊าซที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบนั้นคือ LPG (มาจากการผสมก๊าซโพรเพนกับก๊าซบิวเทนที่ได้จากการกลั่น) เพราะฉะนั้น LPG ที่ใช้หุงต้มตามบ้านนั้น มาจากทั้งโรงกลั่นน้ำมันดิบ และโรงแยกก๊าซธรรมชาติค่ะ #เข้าใจเพื่อไปต่อ #ERSFellowship #ก๊าซธรรมชาติ แสดงความคิดเห็นได้ที่:  https://web.facebook.com/ERSFellowship/photos/a.299602063583142/1524885181054818

หมู่บ้านผลิตไฟฟ้าพึ่งพาตนเองได้

เมื่อบ้านพักอาศัยกลายเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กได้ ณ หมู่บ้าน Basalt Vista ในโคโลราโด สหรัฐอเมริกา หมู่บ้านนี้เป็นโครงการทดลองที่ให้ผู้อยู่อาศัยสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากพอๆ กับที่ต้องการใช้งาน โดยแต่ละหลังจะมีที่ชาร์จสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าติดตั้งมาให้ มีโซลาร์รูฟท็อปที่จะเป็นแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ รวมทั้งแบตเตอรี่ขนาดใหญ่สำหรับกักเก็บพลังงานไว้ใช้ภายหลัง และบ้านทุกหลังจะเชื่อมต่อกันเป็นไมโครกริดที่สามารถกระจายไฟฟ้าและบริหารจัดการตัวเองได้ ลดการพึ่งพาจากโครงข่ายไฟฟ้าในภูมิภาค นอกจากนี้ ยังมีกล่องควบคุมที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตติดตั้งในบ้าน เพื่อให้ซอฟต์แวร์ช่วยบริหารจัดการไฟฟ้าในหมู่บ้านและเชื่อมต่อกับโครงข่ายไฟฟ้าของภูมิภาค โดยมีการรับและจ่ายไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ เครือข่ายในลักษณะนี้เรียกได้ว่าเป็นโรงไฟฟ้าเสมือน (Virtual Power Plant) ซึ่งอาจทดแทนโรงไฟฟ้าแบบเดิมของส่วนกลางที่มีขนาดใหญ่ โดยโรงไฟฟ้าแห่งอนาคตมีแนวโน้มจะกระจายตัวอยู่ตามชุมชนต่าง ๆ ที่มา https://www.wired.com/.../the-power-plant-of-the-future.../ #ERSFellowship #เข้าใจเพื่อไปต่อ #หมู่บ้านไมโครกริด แสงดความคิดเห็นได้ที่:  https://web.facebook.com/ERSFellowship/photos/a.299602063583142/1521151514761518

เรามาถึง “จุดเปลี่ยน” การใช้ยานยนต์ไฟฟ้า

ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จำนวนยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีความพยายามที่จะพัฒนาการชาร์จไฟรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น จากสถิติของ IEA ในปี 2010 ทั่วโลกมียานยนต์ไฟฟ้าที่ถูกใช้จริงบนถนน 17,000 คัน และเมื่อปีที่แล้ว 2019 ตัวเลขพุ่งพรวดขึ้นมาอยู่ที่ 7.2 ล้านคัน โดย 47% ของจำนวนนี้เป็นผู้ใช้รถในจีน นอกจากนี้ Ashwani Gupta CEO...

COVIE-19 ไม่ได้ช่วย ชะลอโลกร้อน

ภาวะโลกร้อนยังคงเป็นปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization:WMO) รายงานว่า ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงไปในช่วงที่ Covid-19 ระบาดหนักในปี 2020 ไม่ได้ช่วยชะลอวิกฤตสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด ทั้งนี้เพราะปริมาณก๊าซเรือนกระจกไม่ได้ลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ เพราะแต่ละปีปริมาณการปล่อยคาร์บอนอาจผันแปรตามปัจจัยหลายประการ เช่น การดูดซับคาร์บอนของพืช อยู่แล้ว เมื่อปีที่แล้วความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีปริมาณมากที่สุดในชั้นบรรยากาศ แตะระดับสูงสุดในรอบหลายล้านปี และยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดปี 2020 นี้ WMO แถลงว่า เมื่อเป็นล้านๆ ปีมาแล้วที่ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์สูงขนาดนี้ อุณหภูมิโลกสูงกว่าปัจจุบัน...

ระเบิดเรือบรรทุกน้ำมัน ดับราคาน้ำมันดิบราคา 50 เหรียญ

ระเบิดเรือบรรทุกน้ำมัน ดันราคาน้ำมันดิบทะลุ 50 เหรียญสหรัฐฯ เรือบรรทุกน้ำมันติดธงสิงคโปร์ ถูกระเบิดที่ท่าเรือเจดดาห์ของซาอุดีอาระเบีย ในทะเลแดง (Red Sea) โดยกลุ่มกบฏ Houthi ของเยเมนอ้างความรับผิดชอบ ขณะที่ลูกเรือทั้งหมดปลอดภัย อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ความไม่สงบนี้ ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 50.49 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยก่อนหน้านี้เพียง 3 สัปดาห์ กลุ่มกบฏดังกล่าวได้เคยโจมตีเรือบรรทุกน้ำมันจนได้รับความเสียหาย จากทุ่นระเบิด ที่ท่าเรือ Shuqaiq...

MOST POPULAR