พลังงานหลักที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน คือ เชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งมีข้อจำกัดเรื่องเสถียรภาพของราคาและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

0
436

พลังงานหลักที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน คือ เชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งมีข้อจำกัดเรื่องเสถียรภาพของราคาและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อันตรายที่เห็นได้ชัดเจนก็คงหนีไม่พ้นฝุ่น PM 2.5 คงจะดีหากเรามีแหล่งพลังงานสะอาด และราคาถูก …เมื่อก่อน คนจะบอกว่า “แสงอาทิตย์” ไม่ใช่คำตอบ แต่วันนี้คิดใหม่ได้แล้ว

นับเป็นข่าวดีที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ริเริ่มโครงการพัฒนาโซลาร์เซลล์ลอยน้ำ เขื่อนสิรินธร ขึ้นมา ว่ากันว่าใหญ่ที่สุดในโลก ผลการประมูลที่ได้ค่าก่อสร้างที่ต่ำกว่าครึ่งของความคาดหมาย จะทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้า (สมมติฐานผลิตวันละ 4 ชั่วโมง) อยู่ที่เพียงหน่วยละ 1.2 บาท ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยต้นทุนในอดีตของธนาคารโลกที่ 1.8 บาท

เมื่อเพิ่มระบบกักเก็บ เช่น แบตเตอรี่ (กรณีภูมิประเทศไม่เอื้อต่อระบบอย่างพลังน้ำแบบสูบกลับเช่นที่ลำตะคอง จ.นครราชสีมา) เพื่อให้มีลักษณะใกล้เคียงโรงไฟฟ้าฐานหรือ Base Load ได้ ต้นทุนอาจจะเพิ่มขึ้นอีก 1 – 1.50 บาท/หน่วย …รวมแล้วโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ก็ยังสามารถแข่งขันกับโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลได้ แต่สะอาดกว่า สร้างเสร็จได้เร็วกว่า และแบ่งขนาดทยอยสร้างไปเรื่อยๆ ได้ไม่ต้องลงทุนทีเดียวซึ่งใช้เงินมากมาย

ℹ️ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://bit.ly/382WM6x
ℹ️ โดย ศ.ดร. พรายพล คุ้มทรัพย์
*บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน

สามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่ : https://www.facebook.com/ERSFellowship/posts/1255900604619945