โรงไฟฟ้าต่ำกว่า 10 MW ไม่ต้องทำ EIA เลยปล่อยมลพิษได้ ใช่หรือไม่ ?

0
1371

Q: โรงไฟฟ้าต่ำกว่า 10 MW ไม่ต้องทำ EIA เลยปล่อยมลพิษได้ ใช่หรือไม่ ?
.
A: แม้โรงไฟฟ้าขนาดต่ำกว่า 10 MW ไม่ต้องทำ EIA* จริง แต่ก็ไม่สามารถปล่อยมลภาวะได้ตามใจชอบ เพราะมีการควบคุมการออกแบบและดำเนินการให้ได้มาตรฐานตามกฎหมายกำหนด โครงการเหล่านี้ต้องทำ ESA** และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงอุตสาหกรรมตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕
.
อย่างไรก็ตาม กำลังจะมีการเปลี่ยนให้การกำกับดูแลไปอยู่ภายใต้หน่วยงาน Regulator ที่เรียกชื่อย่อว่า กกพ. (คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน) เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ที่ให้ใช้ระบบอนุญาตเท่าที่จำเป็น เพราะโรงไฟฟ้าดังกล่าวต้องขออนุมัติ อนุญาตจาก กกพ. ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๐ ในอนาคตอันใกล้ผู้ประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าที่ไม่ต้องจัดทำ EIA จะต้องปฏิบัติตามประมวลหลักการปฏิบัติ (Code of Practice: CoP) ครอบคลุมการกำกับดูแลตั้งแต่ระยะเตรียมการ ระยะก่อสร้าง และระยะดำเนินการ ตลอดจนการรื้อถอนอาคารที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง หากผู้ผลิตไฟฟ้าไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดเกี่ยวกับ CoP ก็อาจถูกเพิกถอนใบอนุญาตได้
.
*Environmental Impact Assessment คือการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและอ้อมของโครงการก่อสร้างนั้น ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
**Environmental Safety Assessment คือ รายงานการศึกษามาตรการป้องกันแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย
.
ℹ️ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ประมวลหลักการปฏิบัติ (Code Of Practice : COP) โดย กกพ. https://bit.ly/3aHRfmH
.
#ERSFellowship #เข้าใจเพื่อไปต่อ #คุณถามเราตอบ #โรงไฟฟ้า

สามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่ : https://www.facebook.com/ERSFellowship/posts/1339498042926867