ใครบอกว่า “ขยะ” เป็นเศษซากที่ไม่มีค่า แต่กลับเป็นขุมทรัพย์แห่งพลังงานทางเลือกชั้นดีมากกว่า

0
745

ใครบอกว่า “ขยะ” เป็นเศษซากที่ไม่มีค่า แต่กลับเป็นขุมทรัพย์แห่งพลังงานทางเลือกชั้นดีมากกว่า
.
วิธีกำจัดขยะด้วยการฝังกลบไม่ได้เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพอีกต่อไปในการจัดการปัญหาขยะล้นเมือง และยังสร้างมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อมทั้งทางอากาศ ดินและน้ำ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีการจัดการกับขยะด้วยเทคโนโลยีผลิตไฟฟ้าจากขยะ ทำให้ขยะที่ไร้ค่า สร้างประโยชน์ได้อีกครั้ง
.
• จากขยะกองโต ขยะที่ไม่สามารถเผาไหม้ได้ เช่น โลหะ แก้ว อลูมิเนียม จะถูกแยกออกมาเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่หรือแปรรูปให้เป็นของใช้อื่น ๆ ถือเป็นการลดการสร้างขยะให้กับสิ่งแวดล้อม
.
• ขยะมูลฝอยที่เผาไหม้ได้จะถูกนำไปลดความชื้นก่อนนำเข้าเตาเผา โดยจะถูกนำไปแปรรูปให้เป็นเชื้อเพลิงขยะ หรือ RDF (Refuse Derived Fuel) ที่มีค่าความร้อนสูง ความชื้นน้อย ขนาดเหมาะสมและลดปัญหามลภาวะจากการเผาไหม้เพื่อเข้าสู่กระบวนการผลิตพลังงานไฟฟ้าในโรงงานไฟฟ้าขยะ
.
• นอกจากนี้ยังมีขยะประเภทอื่น ๆ อาทิ ขยะพวกอินทรีย์สาร เช่น เศษอาหาร ก็สามารถนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพ (ฺBiogas) หรือนำไปหมักเพื่อทำปุ๋ยอินทรีและผลิตสารปรับปรุงคุณภาพดินให้เกิดประโยชน์ได้
.
• ขยะพลาสติกที่มักจะเป็นตัวร้ายเนื่องจากใช้เวลาหลายร้อยปีกว่าจะย่อยสลาย กลับมีประโยชน์และนำกลับมาใช้ซ้ำเป็นเชื้อเพลิงได้อย่างดีด้วยมีปริมาณล้นแหลือและมีค่าความร้อนที่สูงถึงกว่า 30,000 kJ/kg.
.
ถ้านำไปเป็นเชื้อเพลิงขยะไม่ได้ ขยะพลาสติกก็ยังนำไปรีไซเคิลได้ โดยมีหลักเกณฑ์คร่าว ๆ ดังนี้
 รีไซเคิลได้: เทอร์โมพลาสติก คือพลาสติกที่เมื่อโดนความร้อนแล้วอ่อนตัวและหลอมเหลวได้ เช่น ขวด PET/PP/แผ่นซีดี (PC)/PVC
 รีไซเคิลไม่ได้: พลาสติกเทอร์โมเซตติง คือพลาสติกที่มีโครงสร้างเป็นร่างแหหนาแน่น โดนความร้อนแล้วย่อยสลายโดยไม่อ่อนตัวเช่น โฟม PU/เมลามีน /ยางสังเคราะห์
แต่หากไม่มั่นใจ อย่าทิ้งลงถังรีไซเคิล

จะเห็นว่าขยะแต่ละประเภทมีคุณประโยชน์ที่แตกต่างกัน หากเราทุกคนให้ความสำคัญกับประเภทของขยะและคัดแยกขยะก่อนการทิ้งจะถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีจากจุดเล็ก ๆ เพื่อไม่ให้ตกไปเป็นปัญหาในระดับที่ใหญ่ขึ้น รวมถึงช่วยให้โรงงานบริหารจัดการขยะได้ง่ายขึ้น
.
#6ปีERS #เข้าใจเพื่อไปต่อ #ERSFellowship #พลังงานทางเลือก #พลังงานน่ารู้#
สามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่ : https://www.facebook.com/ERSFellowship/posts/1353072448236093