Home Tags คุณถามเราตอบ

Tag: คุณถามเราตอบ

ทำไมไม่ให้รัฐสำรวจ และขุดน้ำมันดิบเอง

Q: ทำไมไม่ให้รัฐสำรวจและขุดน้ำมันดิบเอง ? A: การสำรวจและผลิตปิโตรเลียมต้องใช้เงินลงทุนสูงและมีความเสี่ยงสูงมาก อาจจะเป็นการลงทุนที่สูญเปล่า เพราะแม้สำรวจพบปิโตรเลียม แต่หากมีในปริมาณน้อย ก็ไม่คุ้มที่จะพัฒนาต่อในเชิงพาณิชย์ การสำรวจนั้นก็จะจบลงด้วยการขาดทุน จึงไม่เหมาะที่จะให้รัฐลงทุนเอง อีกทั้งรัฐเองก็มีความต้องการใช้งบประมาณด้านอื่น ๆ มากอยู่แล้ว ที่รัฐเปิดให้เอกชนสำรวจและผลิตปิโตรเลียมนั้น หากเอกชนประสบความสำเร็จก็จะต้องจ่ายผลตอบแทนให้รัฐ ตั้งแต่ค่าภาคหลวง (5 - 15% ของมูลค่าที่ผลิตได้) และภาษีเงินได้ปิโตรเลียมจากส่วนกำไร ซึ่งมีอัตราสูงถึง 50% นอกจากนี้ในระบบ Thailand...

ไทยให้สิงคโปร์กำหนดราคาน้ำมันจริงหรือ ?

Q: ไทยให้สิงคโปร์กำหนดราคาน้ำมันจริงหรือ ? A: ไม่จริงค่ะ เนื่องจากสิงคโปร์เป็นตลาดน้ำมันที่มีการซื้อขายมากที่สุดในภูมิภาคนี้ ประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคจึงใช้เป็นราคาอ้างอิง ลองไปฟังคำอธิบายง่ายๆ “ทำไมราคาน้ำมันไทยต้องอิงราคาตามตลาดใหญ่สิงคโปร์” นาทีที่ 4.45 นะคะ https://www.facebook.com/ERSFellowship/posts/820494261493917 #6ปีERS #ERSFellowship #เข้าใจเพื่อไปต่อ #คุณถามเราตอบ #ราคาน้ำมัน แสดงความคิดเห็นได้ที่: https://web.facebook.com/ERSFellowship/posts/1426658840877453  

ไฟฟ้าแพงขึ้น เพราะ”ค่าพร้อมจ่าย”จริงหรือ

Q: ไฟฟ้าแพงขึ้น เพราะ “ค่าพร้อมจ่าย” ให้โรงไฟฟ้าเอกชน จริงหรือ ? A: ไม่จริงค่ะ เพราะ “ค่าความพร้อมจ่าย” ของโรงไฟฟ้าเอกชนความจริงก็เทียบเท่ากับค่าไฟฐานของโรงไฟฟ้า กฟผ. กล่าวคือ หากให้ กฟผ.สร้างโรงไฟฟ้าเหล่านั้นแทนเอกชน ตัวเงินที่เป็นค่าพร้อมจ่ายก็จะกลายเป็นค่าไฟฐานที่ผ่านส่งมายังผู้บริโภคเหมือนกัน แต่ต่างกันอยู่ตรงที่เอกชนที่ได้สร้างโรงไฟฟ้าจะต้องชนะการประมูล คือเสนอค่าพร้อมจ่ายที่ถูกที่สุด ซึ่งน่าจะถูกกว่าที่ กฟผ.จะสร้างโรงไฟฟ้าเองโดยไม่ประมูลแข่งขัน ทั้งนี้ บริษัทลูกของ กฟผ.เช่น Ratch และ...

ไขข้อข้องใจ ใครถือหุ้น ปตท. ?

ไขข้อข้องใจ ใครถือหุ้น ปตท. ? A: ปตท. จัดตั้งตาม พ.ร.บ. การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2521 เพื่อดำเนินธุรกิจหลักด้านปิโตรเลียมและธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่อง ต่อมาได้แปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ภายใต้ พ.ร.บ. ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 และได้กระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อธันวาคม พ.ศ.2544 โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ คงสภาพเป็นรัฐวิสาหกิจในการกำกับดูแลของกระทรวงพลังงาน นอกจากการถือหุ้นโดยตรงของกระทรวงการคลังประมาณ 51% แล้ว กระทรวงการคลังยังถือหุ้นผ่านกองทุนวายุภักษ์ทั้ง...

ข้อมูลการผลิตปิโตรเลียมไทยถูกปิดบัง จริงหรือ ?

Q: ข้อมูลการผลิตปิโตรเลียมไทยถูกปิดบัง จริงหรือ ? A: ไม่จริงค่ะ สามารถดูข้อมูลการผลิตปิโตรเลียมของไทย ได้ที่เว็บไซต์กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ (จะมียกเว้นก็การผลิตที่ฝาง ซึ่งกองทัพดูแลอยู่ค่ะ) แหล่งผลิตปิโตรเลียมพื้นที่ต่าง ๆ ในประเทศไทย มีทั้งบนบกและในอ่าวไทย และมีทั้งที่เป็นบ่อก๊าซและบ่อน้ำมัน แหล่งผลิตปิโตรเลียมใหญ่ ๆ เช่น แหล่งเอราวัณ แหล่งบงกช แหล่งทานตะวัน แหล่งเบญจมาศ แหล่งสิริกิติ์  ดูรายงานการผลิตปิโตรเลียมรายเดือนได้ที่ เว็บไซต์กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ https://dmf.go.th/public/createpetroleum/data/index/menu/1114/groupid/1 #6ปีERS #ERSFellowship #เข้าใจเพื่อไปต่อ #คุณถามเราตอบ #ปิโตรเลียมไทย แสดงความคิดเห็นได้ที่: https://web.facebook.com/ERSFellowship/photos/a.299602063583142/1408024722740865

ถ้ามีโรงไฟฟ้าในพื้นที่ ชุมชนโดยรอบจะได้ประโยชน์อะไร ?

Q: ถ้ามีโรงไฟฟ้าในพื้นที่ ชุมชนโดยรอบจะได้ประโยชน์อะไร ? A: หากก่อตั้งโรงไฟฟ้า มีกฎหมายกำหนดว่า ให้โรงไฟฟ้าที่ขายไฟฟ้าเข้าระบบ ต้องจัดสรรเงินจากรายได้ของโรงไฟฟ้ามาตั้ง “กองทุนพัฒนาไฟฟ้า” ให้กับชุมชนโดยรอบ และกำหนดให้มีผู้แทนของภาคประชาชนร่วมเป็นคณะกรรมการในจำนวนไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ด้วย “กองทุนพัฒนาไฟฟ้า" ดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกิจการพลังงาน (กกพ.) เพื่อช่วยให้เกิดการพัฒนาท้องถิ่นให้เติบโตอย่างยั่งยืน ครอบคลุมคุณภาพชีวิตทุกด้าน โดยชุมชนในพื้นที่จะมีบทบาทในการเสนอแนวทางการใช้กองทุนฯ สำรวจความคิดเห็นและเสนอโครงการต่าง ๆ ที่ผ่านมามีโครงการที่น่าสนใจ เช่น...

ไฟฟ้าผูกขาดแต่กำไรเข้ารัฐดีกว่ากำไรเข้านายทุนจริงหรือ ?

Q: ไฟฟ้าผูกขาดแต่กำไรส่งเข้ารัฐ ดีกว่ากำไรเข้านายทุนจริงหรือ? A: การให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตไฟฟ้าทำให้เกิดการแข่งขัน ซึ่งนอกจากช่วยยกระดับประสิทธิภาพและความมั่นคงของภาคส่วนนี้แล้ว ยังเป็นการช่วยให้ประเทศได้ขยายบริการเชิงสาธารณูปโภคโดยไม่ต้องใช้เงินที่มีอยู่จำกัดของภาครัฐมาลงทุน ในเมื่อเงินลงทุนมาจากเอกชน ก็ไม่แปลกนะคะ ที่กำไรเอกชนเข้าผู้ลงทุน แต่เขาต้องจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลให้รัฐก่อนนะคะ และเงินปันผลที่จ่ายให้นายทุนก็ต้องเสียภาษีเงินได้ส่วนบุคคลหรือถูกหัก ณ ที่จ่ายอีกด้วย ในขณะที่การลงทุนโดยรัฐวิสาหกิจอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ และส่งผลต่อหนี้สาธารณะ เพราะรัฐมีความต้องการงบประมาณที่สูงมาก ไหนจะถนนหนทางไหนจะโรงเรียนทั่วประเทศ โรงพยาบาล ตำรวจทหาร และกระทรวงทบวงกรมต่างๆ ดังนั้น รัฐมีข้อจำกัดทางการเงินการคลัง และต้องระวังรักษาเสถียรภาพ เพราะถ้ารัฐบาลล่มจมประชาชนก็จะเดือดร้อนกันถ้วนหน้า ดังนั้น สิ่งใดที่เอกชนทำได้จึงควรปล่อยให้เอกชนเข้ามาทำ...

ซื้อไฟฟ้าจากลาว 2 บาท ขายต่อคนไทย 4 บาท เอาเปรียบกันชัดๆ ไหม ?

Q: ซื้อไฟฟ้าจากลาว 2 บาท ขายต่อคนไทย 4 บาท เอาเปรียบกันชัดๆ ไหม ? A: ไฟฟ้าที่ใช้กันในประเทศไทยมาจากหลายแหล่งหลายเชื้อเพลิง ซึ่งมีต้นทุนไม่เท่ากัน ดังนั้นค่าไฟฟ้าจึงมาจากการเฉลี่ยต้นทุนต่าง ๆ และประเทศไทยก็ไม่สามารถซื้อไฟฟ้าพลังน้ำจากลาวมาใช้ทั้งหมดได้ แม้จะราคาถูกแต่มีปริมาณจำกัด ในปี พ.ศ.2562 ประเทศไทยมีกำลังผลิตทั้งระบบรวม 45,298.25 เมกะวัตต์ เป็นไฟฟ้าจากประเทศลาว 5,420.60 เมกะวัตต์...

MOST POPULAR