Home Tags คุณถามเราตอบ

Tag: คุณถามเราตอบ

ทำไม ราคาน้ำมันขายปลีกหน้าปั๊มที่ “มาเลเซีย” ถูกกว่าไทย ?

เพราะโครงสร้างราคาน้ำมันไทยเก็บภาษี แต่มาเลเซียแทบไม่เก็บแถมมีการอุดหนุนราคาโดยรัฐอีกด้วย แล้วทำไมไม่นำเข้าน้ำมันมาเลเซียมาขายในไทย ? เนื่องจากราคาเนื้อน้ำมันใกล้เคียงกัน ถึงนำเข้ามาก็ไม่ทำให้ถูกลงเพราะเงินอุดหนุนไม่มาด้วยและถึงฝั่งไทยก็ต้องเสียภาษีตามกฎหมายไทย ย้อนดูสถานการณ์ที่บริษัท Petronas บรรษัทน้ำมันแห่งชาติของมาเลเซีย ที่เคยเข้ามาขายน้ำมันในเมืองไทย ก็ต้องขายในราคาตลาดเท่า ๆ กับบริษัทอื่น ไม่ได้ราคาถูกอย่างที่ขายในมาเลเซีย สุดท้าย Petronas ก็ต้องถอนตัวออกไป เหมือนบริษัทต่างชาติหลายเจ้า เช่น Q8 BP Jet ซึ่งล้วนพบว่า...

น้ำมันดีเซลแพง… เพราะไบโอดีเซล ?

Q: น้ำมันดีเซลแพง… เพราะไบโอดีเซล ? A: ใช่ค่ะ เพราะที่ผ่านมาไบโอดีเซล 100% (B100) แพงกว่าน้ำมันดีเซลจากโรงกลั่นน้ำมัน (HSD) เสมอ บางช่วงเช่น ในเดือน ธ.ค. 63 แพงกว่ามากถึง 30 บาท/ลิตร บางช่วงเช่น ต.ค. 62 อาจจะแพงกว่าเพียง 5-6 บาท/ลิตร...

ทำไมต้องอ้างอิงราคานำเข้าจากตลาดต่างประเทศ ทั้งที่ต้นทุนก๊าซส่วนใหญ่เป็นของไทย ?

Q: ทำไมต้องอ้างอิงราคานำเข้าจากตลาดต่างประเทศ ทั้งที่ต้นทุนก๊าซส่วนใหญ่เป็นของไทย ? A: โครงสร้างราคาพลังงานในประเทศไทยนั้นถูกกำกับดูแลโดยภาครัฐ การอ้างอิงราคาตลาดโลกไม่ใช่เพื่อปกป้องผู้ผลิต แต่เป็นการสร้างระบบราคาที่เป็นธรรมกับทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค เนื่องจากปิโตรเลียมเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่สามารถขนส่งซื้อขายได้ง่าย ราคาจึงมีแนวโน้มที่จะเป็นไปตามราคาตลาดโลกหรือตลาดภูมิภาค* หากปล่อยให้ผู้ผลิตคิดราคาแบบ Cost Plus คือบวกกำไรไปบนต้นทุน ก็มีโอกาสสูงที่จะทำให้ผู้บริโภคไทยใช้ของแพง เพราะไม่มีการแข่งขันจากการนำเข้า ดังเช่นกรณีของเอทานอลแพงที่หลายคนเริ่มรู้สึกกันแล้ว การที่ประเทศไทยเปิดเสรีให้นำเข้าปิโตรเลียมได้จึงเป็นการบังคับให้ผู้ผลิตต้องลดต้นทุนและบริหารให้แข่งขันได้กับราคานำเข้า อย่างไรก็ตามเมื่อพูดถึงก๊าซที่ผลิตได้เองในประเทศ ต้องแยกแยะระหว่างก๊าซธรรมชาติ**ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้า กับก๊าซ LPG ที่ใช้หุงต้มในครัวเรือน เฉพาะราคา LPG เท่านั้นที่มีการอ้างอิงราคานำเข้าจากต่างประเทศ...

เมืองไทยชอบกล! ให้เอกชนผลิตไฟฟ้าแข่งกับรัฐ?

Q: เมืองไทยชอบกล! ให้เอกชนผลิตไฟฟ้าแข่งกับรัฐ? A: ถ้าดูแนวโน้มนโยบายเศรษฐกิจทั่วโลก จะเห็นว่าเมืองไทยไม่แปลกเลย เพราะมีการใช้ประโยชน์ของภาคเอกชนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแทบทุกประเทศ ตัวอย่างที่โดดเด่นที่สุด คือ ประเทศจีน ซึ่งเคยเป็นระบบคอมมิวนิสต์ที่รัฐผูกขาดการผลิตแทบทั้งหมด ก็ได้แปรรูปโดยใช้กลไกตลาดและแรงจูงใจของเอกชน จนทำให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างมหาศาล อีกทั้งความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วไปก็ดีขึ้นมากดังที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ ตัวอย่างอื่นใกล้บ้านเราก็มี เช่น ประเทศเวียดนาม สังเกตได้ว่าแม้กระทั่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 หมวด 6 มาตรา 75 ก็ระบุว่า รัฐจะไม่ประกอบกิจการที่แข่งขันกับเอกชนในธุรกิจที่เอกชนดำเนินการได้...

ก๊าซไทย คิดราคาอย่างไร ?

Q: ก๊าซไทย คิดราคาอย่างไร ? A: ก๊าซเชื้อเพลิงที่ใช้ในไทย 69% ผลิตจากในประเทศ ซึ่ง 67% มาจากอ่าวไทย 2% จากบนบก ที่เหลือต้องนำเข้า 16% จากพม่า และ 15% มาจาก LNG (ข้อมูลปี 2562) ก๊าซธรรมชาติที่ขุดได้จากอ่าวไทยเป็นก๊าซหนัก ต้องผ่านโรงแยกก๊าซธรรมชาติเพื่อแยกก๊าซเชื้อเพลิงออกจากสารอื่นๆ ที่นำไปเพิ่มมูลค่าในโรงงานปิโตรเคมี การใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิงมี...

การไฟฟ้าเอาเปรียบประชาชนจริงหรอ ?

การไฟฟ้าคืนทุนมานานแล้ว ที่เก็บอยู่ทุกวันนี้คือเอาเปรียบ จริงหรือ ? ไม่จริง รัฐวิสาหกิจการไฟฟ้า (กฟผ. + กฟน. + กฟภ.) มีรายได้ในปี 2562 รวม 6.8 แสนล้านบาท มีกำไรสุทธิ 5.6 หมื่นล้านบาท (~8% ของรายได้) ส่งรายได้ให้รัฐ 3.5 หมื่นล้านบาท (~63%...

มีประเทศไหนใช้น้ำมันผสมไบโอดีเซลเหมือนบ้านเราไหม ?

Q: มีประเทศไหนใช้น้ำมันผสมไบโอดีเซลเหมือนบ้านเราไหม ? A: ต่างประเทศมีอย่างน้อย 56 ประเทศที่ใช้ไบโอดีเซล อาทิ สหรัฐอเมริกา บราซิล ฝรั่งเศส อินโดนีเซีย และเยอรมนี ซึ่งใช้ใบโอดีเซลรวมกันมากกว่า 50% ของการใช้ทั่วโลก นอกจากปาล์มน้ำมันแล้ว ยังมีพืชชนิดอื่น ๆ ที่สามารถผลิตไบโอดีเซลได้ โดยแต่ละประเทศที่กล่าวมาข้างต้นก็จะใช้วัตถุดิบหลักที่แตกต่างกันไป เช่น สหรัฐอเมริกา > ถั่วเหลือง, น้ำมันพืชใช้แล้ว บราซิล >...

ก๊าซในอ่าวไทย เป็นของคนไทย ก็ขายให้คนไทยถูก ๆ ได้ไหม

Q: ก๊าซในอ่าวไทย เป็นของคนไทย ก็ขายให้คนไทยถูก ๆ ได้ไหม A: ก๊าซที่อยู่ในอ่าวไทย เป็นของคนไทยทุกคน แต่ก๊าซที่ขุดขึ้นมาแล้ว ไม่ใช่คนไทยทุกคนที่จะใช้ ในปริมาณที่เท่ากัน ซึ่งผู้ที่มีฐานะดีมีแนวโน้มใช้พลังงานจากก๊าซฯ ดังกล่าวมากกว่า ดังนั้นก๊าซควรจะขายให้ผู้ใช้ในราคาตลาด รัฐได้ผลประโยชน์มาในรูปของภาษีค่าภาคหลวง ภาษีปิโตรเลียม ก็นำมาเป็นงบประมาณสำหรับใช้จ่ายเพื่อคนทั้งประเทศ ทั้งนี้ แม้ก๊าซจะขึ้นมาจากอ่าวไทย แต่ก็มีต้นทุนหลายอย่าง ตั้งแต่การสำรวจหาแหล่งผลิต ซึ่งอาจจะเจอหรือไม่เจอก็ได้ แล้วถ้าเจอก็ต้องลงทุนพัฒนาแหล่งก๊าซเป็นพันเป็นหมื่นล้านบาท กว่าจะผลิตได้ อีกทั้งยังมีต้นทุนในการดำเนินงานจ้างคนและเดินเครื่องผลิตในแต่ละวันด้วย ก๊าซที่ขุดขึ้นมาจะต้องผ่านกระบวนการของโรงแยกก๊าซก่อนจะไปเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า...

ทำไมรัฐจึงกำหนดราคารับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตรายย่อยในราคาค่อนข้างต่ำ ?

Q: ทำไมรัฐจึงกำหนดราคารับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตรายย่อยในราคาค่อนข้างต่ำ ? A: ในปัจจุบัน การไฟฟ้ามีการรับซื้อไฟฟ้าจากบ้านเรือนหรือผู้ผลิตขนาดเล็กมาก (VSPP) เช่น โครงการโซลาร์ภาคประชาชน โดยรับซื้อไฟราคาหน่วยละ 1.68 บาท ตามราคาต้นทุนการผลิตไฟฟ้าเพิ่มของ กฟผ. (Marginal Cost) ซึ่งราคาค่อนข้างต่ำเทียบกับค่าไฟที่ประชาชนจ่าย ทั้งนี้ เป็นเพราะ… ต้องการส่งเสริมให้ผลิตเพื่อการใช้เองเป็นหลัก ไม่ใช่ผลิตเพื่อขาย โดยการขายไฟที่เหลือใช้เป็นเพียงผลพลอยได้เท่านั้น ซึ่งโครงการนี้ออกแบบมาสำหรับผู้ที่ใช้ไฟมากในเวลากลางวัน ถ้ามีการปรับอัตราการรับซื้อไฟฟ้าจากโซลาร์ภาคประชาชนให้สูงขึ้น จะมีผลให้ค่าไฟโดยรวมที่ประชาชนทั่วไปจ่ายสูงขึ้น...

น้ำมันราคาลดลง ทำไมค่าไฟฟ้าไม่ลด?

Q: น้ำมันราคาลดลง ทำไมค่าไฟฟ้าไม่ลด ? A: เพราะเมื่อราคาน้ำมันลง (หรือขึ้น) กว่าจะมีผลต่อราคาก๊าซที่ใช้ผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย (gas pool) จะมีการทอดเวลา (time lag) ประมาณ 6-21 เดือนค่ะ ซึ่งในช่วงปัจจุบันก็เริ่มมีผลให้ค่าไฟลดลงแล้ว โดยเมื่อวันที่ 16 ก.ค. 63 กกพ. ประกาศลดค่าเอฟทีลงตามภาวะราคาเชื้อเพลิง ตั้งแต่กันยายน-ธันวาคม ลง...

MOST POPULAR