Home Tags 6ปีERS

Tag: 6ปีERS

น้ำมันดีเซล B10 เปลี่ยนชื่อเป็น น้ำมันดีเซลธรรมดา

น้ำมันดีเซล B10 เปลี่ยนชื่อเป็น น้ำมันดีเซลธรรมดา มีผลบังคับใช้ วันที่ 1 ตุลาคม 2563 เพื่อผลักดัน B10 เป็นน้ำมันพื้นฐานของประเทศตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนในประเทศให้สอดรับกับสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม ลดมลภาวะ เป็นการสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน และเป็นการอุดหนุนเกษตรกรไปในตัว #สรุป มีน้ำมันอะไรเปลี่ยนชื่อบ้าง? น้ำมันดีเซลธรรมดา น้ำมันดีเซล B7 และยังคงมีจำหน่ายตามปกติสำหรับยานยนต์รุ่นเก่าที่ไม่รองรับน้ำมัน B10 น้ำมันดีเซล B10 น้ำมันดีเซลธรรมดา สามารถดูประกาศของกรมธุรกิจพลังงานได้ที่นี่ http://elaw.doeb.go.th/document_doeb/TH/699TH_0001.pdf สามารถตรวจสอบรุ่นรถยนต์ที่รองรับการใช้น้ำมันดีเซล...

บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของอเมริกา Chesapeake ยื่นล้มละลาย

บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของอเมริกา Chesapeake ยื่นล้มละลาย บริษัทผลิตน้ำมันและก๊าซฯยักษ์ใหญ่ของอเมริกา Chesapeake Energy Corp. เป็นเหยื่อรายล่าสุด จากอุปสงค์การใช้พลังงานที่ลดลงจากการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 โดย Chesapeake ได้ยื่นล้มละลายต่อศาลเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมา Chesapeake ถือเป็นบริษัทฯ ที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาและผลิตปิโตรเลียมจากหินดินดาน (Shale) แต่ด้วยภาระหนี้ที่มีอยู่ในระดับสูง และราคาพลังงานที่ตกต่ำอย่างต่อเนื่องทำให้ต้องเผชิญกับสภาวะล้มละลายดังกล่าว  อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.bloomberg.com/news/articles/2020-06-28/chesapeake-pushed-into-bankruptcy-by-plunging-energy-prices #6ปีERS #ERSFellowship #เข้าใจเพื่อไปต่อ #จับข่าวคุย สามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่: https://www.facebook.com/ERSFellowship/photos/a.299602063583142/1374524189424252

การปรับสูตรราคาอ้างอิงหน้าโรงกลั่น

กบง. เห็นชอบเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การคำนวณราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ณ โรงกลั่น โดย รมต. พลังงานคาดว่า ราคาน้ำมันขายปลีกจะลดลง 50 สตางค์/ลิตร ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานจะกำกับดูแลผู้ค้าน้ำมันให้มี “ค่าการตลาด” ที่เหมาะสม คือ อัตราเฉลี่ยทุกผลิตภัณฑ์อยู่ที่ 1.85 บาท/ลิตร หรือเฉลี่ยขึ้นลงได้ในช่วง 1.45 - 2.25 บาท/ลิตร อย่างไรก็ตาม กระทรวงพลังงานย้ำว่า...

ทำไมเกือบทุกปั้มตั้งราคาน้ำมันเท่ากัน ?

Q: งงว่าทำไมราคาน้ำมันถึงเท่ากันหมดทุกปั๊ม และไม่แข่งขันกันตามกลไกตลาด ? A: มีการแข่งขันในตลาดน้ำมันนะคะ เพียงแต่ไม่ค่อยแข่งกันในรูปของราคา เพราะกำไรจากการขายน้ำมันมีอัตราส่วนค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป สถานีบริการต่างๆ จึงแข่งขันในเรื่องของคุณภาพ บริการ และความสะดวกอื่น ๆ สังเกตไหมคะว่า ยุคหนึ่งเคยแข่งขันแถมน้ำดื่มกันเยอะมาก แต่ช่วงหลังแทบไม่มีใครแจกแล้ว นอกจากนั้น จะเห็นว่าหลายจุดในใจกลางเมือง ปั๊มน้ำมันก็ทยอยกันปิดกิจการไป เพราะลงทุนไม่คุ้มกับราคาที่ดิน บางที่อาจยังมีเหลืออยู่สัก 1 ปั๊ม ก็คงเพราะสัญญาเช่าที่ดินยังไม่หมด อนึ่ง ช่วงแรกหลังจากเปิดเสรีการค้าและการกำหนดราคาน้ำมันในประเทศไทย (deregulation) การแข่งขันในตลาดน้ำมันคึกคักเป็นพิเศษ...

แนวโน้มการพัฒนาเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปหลัง Covid-19

แนวโน้มการพัฒนาเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปหลัง Covid-19 10 เทรนด์สำคัญที่เมืองจะเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างทางสังคม การทำงาน บ้าน สุขภาพ อาหาร ฯลฯ เนื่องจากผู้คนมีพฤติกรรมและความต้องการต่าง ๆ ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ทำให้หลายวงการต้องปรับตัวเพื่อตอบสนองสถานการณ์ในปัจจุบัน และเทคโนโลยีนวัตกรรมก็เข้ามามีบทบาทมากขึ้นด้วยเช่นกัน คิดว่า วงการพลังงานได้รับผลกระทบ และต้องปรับตัวไปอย่างไรบ้างในยุคหลัง Covid-19 #6ปีERS #เข้าใจเพื่อไปต่อ #ERSFellowship #Covid19 #SmartCity #เทคโนโลยี ที่มา Smart City...

โรงไฟฟ้าเสมือน..นำเทคโนโลยีขั้นสูงเข้ามาช่วยบริหารจัดการดีมานด์ซัพพลายความต้องการไฟฟ้า

โรงไฟฟ้าเสมือน..นำเทคโนโลยีขั้นสูงเข้ามาช่วยบริหารจัดการดีมานด์ซัพพลายความต้องการไฟฟ้า  โรงไฟฟ้าเสมือน หรือ Virtual Power Plant: VPP คือการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อจัดการแหล่งพลังงานที่มีอยู่กระจัดกระจายให้รวมเป็นเครือข่ายเดียวกัน ช่วยรักษาสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานความต้องการไฟฟ้า ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ป้องกันความผิดพลาด ที่อาจจะทำให้เกิดไฟฟ้าขัดข้องได้ จากหลักคิด เรื่องปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตจะต้องเท่ากันกับปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ ทำให้บริษัทพลังงานที่ดูแลเรื่องการผลิต การส่ง และการกระจายพลังงานไฟฟ้าจะต้องคอยปรับเพิ่ม-ลดปริมาณการผลิตให้เพียงพอต่อการบริโภคตามที่คาดการณ์ไว้ VPP จึงเข้ามาช่วยตอบโจทย์ ด้วยการนำ “โครงข่ายเทคโนโลยีขั้นสูง” เข้ามาแก้ปัญหาเรื่องการจัดการอุปสงค์และอุปทานการใช้พลังงานในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดต้นทุน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้นวัตกรรม Internet...

ราคาน้ำมันดีเซล ไทยVSทั่งโลก

 น้ำมันดีเซลธรรมดาของไทย เมื่อ 24 มิ.ย. 63 มีราคาต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของทั่วโลก 4.15 บาท จัดอยู่ที่อันดับ 98 ของราคาน้ำมันค้าปลีกทั่วโลก น้ำมันดีเซลเกรดที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในประเทศไทย คิดเป็น 74% คือ “น้ำมันดีเซลธรรมดา” B10 คิดเป็น 13% ของการใช้กลุ่มดีเซลทั้งหมด ส่วน B20 ที่มีจำหน่ายเมื่อกรกฎาคม 2561 คิดเป็น 9%...

ไฟฟ้าผูกขาดแต่กำไรเข้ารัฐดีกว่ากำไรเข้านายทุนจริงหรือ ?

Q: ไฟฟ้าผูกขาดแต่กำไรส่งเข้ารัฐ ดีกว่ากำไรเข้านายทุนจริงหรือ? A: การให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตไฟฟ้าทำให้เกิดการแข่งขัน ซึ่งนอกจากช่วยยกระดับประสิทธิภาพและความมั่นคงของภาคส่วนนี้แล้ว ยังเป็นการช่วยให้ประเทศได้ขยายบริการเชิงสาธารณูปโภคโดยไม่ต้องใช้เงินที่มีอยู่จำกัดของภาครัฐมาลงทุน ในเมื่อเงินลงทุนมาจากเอกชน ก็ไม่แปลกนะคะ ที่กำไรเอกชนเข้าผู้ลงทุน แต่เขาต้องจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลให้รัฐก่อนนะคะ และเงินปันผลที่จ่ายให้นายทุนก็ต้องเสียภาษีเงินได้ส่วนบุคคลหรือถูกหัก ณ ที่จ่ายอีกด้วย ในขณะที่การลงทุนโดยรัฐวิสาหกิจอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ และส่งผลต่อหนี้สาธารณะ เพราะรัฐมีความต้องการงบประมาณที่สูงมาก ไหนจะถนนหนทางไหนจะโรงเรียนทั่วประเทศ โรงพยาบาล ตำรวจทหาร และกระทรวงทบวงกรมต่างๆ ดังนั้น รัฐมีข้อจำกัดทางการเงินการคลัง และต้องระวังรักษาเสถียรภาพ เพราะถ้ารัฐบาลล่มจมประชาชนก็จะเดือดร้อนกันถ้วนหน้า ดังนั้น สิ่งใดที่เอกชนทำได้จึงควรปล่อยให้เอกชนเข้ามาทำ...
video

หอพลังงานยักษ์ – แบตเตอรี่กักเก็บไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน

“หอพลังงานยักษ์” เป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่ช่วยกำจัดจุดอ่อนของแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่ไม่แน่นอนและจำเป็นต้องมีแหล่งกักเก็บพลังงานสำรอง หอพลังงานนี้ได้รับแรงบันดาลในการออกแบบจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ (Pumped Hydro Plant) ด้วยการใช้ประโยชน์จากแรงโน้มถ่วงที่น้ำจะไหลลงที่ต่ำ โดยหอพลังงานยักษ์มีเครนที่คอยดึงก้อนอิฐขึ้นไปไว้ด้านบน (เหมือนปั๊มน้ำไปเก็บไว้บนเขื่อน) เมื่อมีความต้องการไฟฟ้า เครนจะปล่อยก้อนอิฐลงมา เป็นการเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เหมือนน้ำที่ไหลลงมาปั่นไฟ) หอพลังงานนี้ สามารถตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าได้แบบเรียลไทม์ และสามารถจ่ายไฟเข้าสู่ระบบได้อย่างรวดเร็วและมีเสถียรภาพ ขณะนี้ ต้นแบบหอพลังงานยักษ์ยังอยู่ระหว่างการก่อสร้างในสวิตเซอร์แลนด์ มีความสูงถึง 60 เมตร และเป็นที่สนใจของนักลงทุนทั่วโลก คาดว่า จะมีการจัดจำหน่ายได้ในปลายปีนี้ (พ.ศ....

จะเป็นอย่างไร เมื่อ “ค่าไฟ” คิดตามระบบตลาด ?

จะเป็นอย่างไร เมื่อ “ค่าไฟ” คิดตามระบบตลาด ? ค่าไฟในเยอรมนีเคยติดลบ! เพราะมีการผลิตไฟฟ้าล้นเกินความต้องการจนต้องว่าจ้างผู้ซื้อไฟฟ้า เหตุเพราะต้นทุนในการหยุดผลิตแล้วกลับมาเดินเครื่องใหม่นั้น สูงกว่าการทนเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าแล้วยอมจ่ายเงินจ้างให้คนอื่นมาใช้ไฟฟ้า โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน หรือแก๊สธรรมชาติ ทั้งนี้ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นได้ก็เนื่องจากในเยอรมนีราคาไฟฟ้าถูกกำหนดโดยกลไกตลาด ซึ่งมีผู้ค้าและผู้ใช้ไฟรายใหญ่แข่งกันซื้อไฟจากโรงไฟฟ้าต่างๆ โดยผู้ค้าขายไฟต่อให้กับผู้บริโภคทั่วไปซึ่งก็มีทางเลือกในการซื้อไฟเช่นกัน กรณีค่าไฟติดลบนี้เป็นผลดีต่อเหล่าผู้ค้าโดยตรง ส่วนผู้บริโภคก็ได้ค่าไฟที่ต่ำลงตามแต่ลักษณะของสัญญาที่ทำไว้กับผู้ค้านั้นๆ แต่จะไม่ถึงกับติดลบ เพราะค่าไฟที่คนเยอรมันจ่ายมีสัดส่วนต้นทุนการซื้อไฟเพียง 20% ที่เหลือเป็นภาษีและค่าสนับสนุนพลังงานหมุนเวียน ในตลาดพลังงานไทยที่รัฐวิสาหกิจผูกขาดเป็นผู้จัดการระบบไฟฟ้าตั้งแต่กลางน้ำ ไปจนปลายน้ำ โดยมีเอกชนเป็นผู้ร่วมผลิตไฟฟ้าป้อนเข้าระบบส่วนหนึ่งด้วย การคำนวณค่าไฟในไทยมาจาก ค่าไฟฟ้าฐานและค่า...

MOST POPULAR