Q: ทำไมรัฐจึงกำหนดราคารับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตรายย่อยในราคาค่อนข้างต่ำ ?
A: ในปัจจุบัน การไฟฟ้ามีการรับซื้อไฟฟ้าจากบ้านเรือนหรือผู้ผลิตขนาดเล็กมาก (VSPP) เช่น โครงการโซลาร์ภาคประชาชน โดยรับซื้อไฟราคาหน่วยละ 1.68 บาท ตามราคาต้นทุนการผลิตไฟฟ้าเพิ่มของ กฟผ. (Marginal Cost) ซึ่งราคาค่อนข้างต่ำเทียบกับค่าไฟที่ประชาชนจ่าย ทั้งนี้ เป็นเพราะ…
ต้องการส่งเสริมให้ผลิตเพื่อการใช้เองเป็นหลัก ไม่ใช่ผลิตเพื่อขาย โดยการขายไฟที่เหลือใช้เป็นเพียงผลพลอยได้เท่านั้น ซึ่งโครงการนี้ออกแบบมาสำหรับผู้ที่ใช้ไฟมากในเวลากลางวัน
ถ้ามีการปรับอัตราการรับซื้อไฟฟ้าจากโซลาร์ภาคประชาชนให้สูงขึ้น จะมีผลให้ค่าไฟโดยรวมที่ประชาชนทั่วไปจ่ายสูงขึ้น เนื่องจากค่าไฟฟ้าถูกคำนวณจากค่าเฉลี่ยของต้นทุนในกิจการไฟฟ้าทั้งหมด ซึ่งมาจากหลายแหล่ง หลายเชื้อเพลิง รวมทั้งค่าระบบสายส่ง ค่าบริหารจัดการทั้งระบบ
หากมีการปรับราคารับซื้อไฟฟ้าจากบ้านเรือนในราคาที่สูงขึ้น ต้นทุนโดยรวมของทั้งระบบก็จะสูงตาม แม้จะเป็นแรงจูงใจที่ดีให้ผู้บริโภคหันมาเป็น “Prosumer” กันมากขึ้น แต่ผู้บริโภครายอื่นๆ ก็ต้องช่วยแบกรับภาระค่าไฟที่สูงขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ การใช้วิธี Net Metering ก็จะมีผลทำนองเดียวกัน คือ สามารถขายไฟให้รัฐได้ในราคา 4.42 บาท เท่ากับค่าซื้อไฟของครัวเรือนที่ใช้ไฟเกิน 400 หน่วยต่อเดือน
ปัจจุบัน การขึ้นราคารับซื้อไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาสำหรับภาคประชาชนประเภทบ้านอยู่อาศัย ยังอยู่ระหว่างรอความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)
อ่านเพิ่มเติม ประกาศ กกพ. เรื่อง “ประกาศเชิญชวนการรับซื้อไฟฟ้าโครงการโซลาร์ภาคประชาชน”
http://www.erc.or.th/ERCWeb2/Front/News/NewsDetail.aspx…
ที่มา บทความ “โซลาร์ภาคประชาชน: ผลิตเพื่อขายหรือใช้เอง“
#ERSFellowship #เข้าใจเพื่อไปต่อ #คุณถามเราตอบ #โซลาร์ประชาชน
แสดงความคิดเห็นได้ที่: https://web.facebook.com/ERSFellowship/posts/1451697598373577