ก้าวผ่านไฟฟ้าผูดขาดสู่ไฟฟ้าเสรีในยุโรป

0
754

สหภาพยุโรป (EU) ก้าวผ่านไฟฟ้าผูกขาด ไปสู่ไฟฟ้าเสรี

กิจการไฟฟ้าเสรีในอุดมคติ คือเมื่อไม่มีผู้ผลิต/ผู้ขายไฟฟ้ารายได้รายหนึ่งสามารถมีอิทธิพลต่อราคาในตลาดขายส่งได้ และเมื่อผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อไฟได้ตามราคาและบริการที่ตนพอใจในตลาดขายปลีก สภาวะเหล่านี้จะทำให้ผู้บริโภคได้อัตราคาค่าไฟที่ต่ำกว่าในตลาดที่ไม่มีการแข่งขันอย่างมีประสิทธิภาพ

แต่กิจการไฟฟ้าเสรีแบบ 100% ไม่ได้เกิดขึ้นง่าย ๆ แม้ใน EU ปัจจุบันก็ยังถือว่าอยู่ในระหว่างการพัฒนา โดยเมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว ประเทศใน ยุโรปมีกิจการไฟฟ้าแบบผูกขาด มีองค์กรที่ดูแลกิจการอย่างครบวงจร ตั้งแต่การผลิตไฟฟ้า จัดส่ง จนถึงการขายไฟฟ้า ซึ่งจะไม่ต้องพบความท้าทายจากการแข่งขัน และสามารถควบคุมราคาค่าไฟเองได้

ปี พ.ศ. 2539 เป็นต้นมา ภายหลังจากที่มีการเปิดตลาดเสรีกับภาคส่วนอื่นๆ EU ก็ได้เริ่มพัฒนาระบบตลาดไฟฟ้าที่มีการแข่งขัน โดยในขั้นที่ 1 มีจุดมุ่งหมายให้ EU มีตลาดกลางไฟฟ้าเพื่อลดต้นทุนของเครือข่ายสายส่งและเพิ่มความมั่นคงให้แก่ระบบ มีการให้แยกบัญชี (Accounting Unbundling) กิจการผลิต สายส่ง และสายจำหน่าย ในขั้นที่ 2 ในปี พ.ศ. 2546 กำหนดให้แยกเป็นบริษัท (Legal Unbundling) โดยแต่ละบริษัทต้องดำเนินกิจการใดกิจการหนึ่งของ Value Chain ไฟฟ้าเท่านั้น และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ผู้ใช้ไฟสามารถมีทางเลือกในการซื้อไฟฟ้าจากผู้ขายได้ อย่างไรก็ตาม หลายบริษัทใน Value Chain อาจจะอยู่ภายใต้เครือเดียวกัน ทำให้มีโอกาสใช้อำนาจเหนือตลาดได้ ดังนั้นในขั้นที่ 3 จึงมีการกำหนดให้แยกการถือหุ้นหรือให้แยกการถือหุ้น (Ownership Unbundling) หรือให้มีผู้ควบคุมระบบที่เป็นอิสระ (Independent System Operator)

นอกจากนี้ยังมีข้อกำหนดอื่นๆ อาทิ หน่วยกำกับดูแลต้องเป็นอิสระจากผู้ประกอบการและจากฝ่ายรัฐด้วย แต่รัฐบาลจะต้องจัดสรรงบประมาณให้อย่างเพียงพอ มีองค์กรความร่วมมือระหว่างหน่วยกำกับดูแลของประเทศสมาชิก ผู้บริโภคมีสิทธิ์เลือกและเปลี่ยนผู้จำหน่ายไฟฟ้าได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย มีสิทธิ์ได้รับข้อมูลการใช้ไฟฟ้าของตน และมีสิทธิ์ที่จะให้ข้อโต้แย้งถูกสะสางอย่างรวดเร็ว เป็นต้น

สำหรับประเทศไทย กิจการไฟฟ้าของไทยยังถือว่าผูกขาด แม้จะมีการผลิตไฟฟ้าโดยเอกชนเพื่อขายเข้าระบบส่วนหนึ่ง แต่การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ยังเป็นผู้รับซื้อรายเดียว โดยเป็นเจ้าของและผู้บริหารสายส่ง มีโรงไฟฟ้าของตนเอง และเป็นผู้จำหน่ายไฟทั้งหมดให้กับการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และส่วนภูมิภาค (กฟภ.) จึงน่าจะถึงเวลาแล้วที่ควรจะมีการปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้า

ERS เสนอให้มีการแยกระบบบริหารสายส่งไฟฟ้าให้เป็นอิสระและโปร่งใส ซึ่งก็ไม่ใช่ว่าจะต้องลดขนาดของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แต่ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตเก็บระบบสายส่งไว้รวมทั้งเขื่อนพลังน้ำด้วย และให้แยกโรงไฟฟ้าต่างๆของ กฟผ.เป็นหน่วยผลิตที่เป็นเอกเทศ ซึ่งจะสามารถประมูลแข่งขันกับโรงไฟฟ้าของเอกชนได้โดยตรง ให้แข่งกันขายไฟเข้าระบบโดยจัดให้ผู้ใช้ไฟมีทางเลือก และให้ใช้ระบบ Smart Grid อย่างจริงจัง

หากทำให้เกิดการแข่งขันในกิจการไฟฟ้าได้อย่างแท้จริง ระบบจะมีประสิทธิภาพสูงสุด และทำให้ผู้บริโภคได้ค่าไฟที่ต่ำที่สุด

จากแถลงข่าวด้านล่าง เป็นที่น่ายินดีว่า กฟผ.เองก็เล็งเห็นโอกาสในการแสวงหาช่องทางธุรกิจใหม่ โดยอาจเป็นผู้เล่นหลักที่เข้าร่วมในตลาดไฟฟ้าที่เปิดเสรีในอนาคต ตามกรอบของพระราชบัญญัติประกอบกิจการพลังงาน 2550 และประเทศด้านพลังงาน

ที่มา

https://www.next-kraftwerke.be/…/from-a-regulated-to-a…/

https://ec.europa.eu/…/market…/third-energy-package_en

แถลงข่าว กฟผ. ดูได้ที่ https://www.facebook.com/ERSFellowship/posts/1500330880176915

#ERSFellowship #เข้าใจเพื่อไปต่อ #ไฟฟ้าเสรี

แสดงความคิดเห็นได้ที่:https://www.facebook.com/ERSFellowship/posts/1513360998873903