ก๊าซชีวภาพจากขยะชุมชน

0
843

เปลี่ยน “ขยะ” ให้เป็นพลังงาน ด้วยการผลิตก๊าซชีวภาพ (Biogas)

ขยะในประเทศไทยเพิ่มขึ้น 70,000 ตันต่อวันในปี 2560 และคาดว่าจะเพิ่มในอัตราที่สูงทุกๆปี ทางออกเดิมๆอย่างการนำไปฟังกลบจึงไม่เพียงพอ ต้องมีการนำขยะไปสร้างพลังงานและรีไซเคิลตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งแนวทางหนึ่งที่มีประสิทธิภาพคือ การผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะ

? คัดแยก : ขั้นตอนแรกเพื่อแยกขยะมูลฝอยจากชุมชน ซึ่งกว่า 50% เป็นขยะอินทรีย์ที่สามารถนำมาผ่านกระบวนการย่อยสลายโดยไม่ใช้อากาศ (Anaerobic Digestion) ได้ โดยประเภทเศษอาหารจะผลิตก๊าซได้มากกว่าประเภทผักผลไม้

? ผลิตก๊าซชีวภาพ : การย่อยสลายโดยไม่ใช้อากาศอาศัยแบคทีเรียย่อยสลายขยะจนได้ก๊าซมีเทน (CH4)

? ใช้ประโยชน์ : ก๊าซมีเทนที่ได้จะถูกส่งออกจากถังปฏิกิริยาทางท่อนำก๊าซ เพื่อใช้ผลิตพลังงานความร้อนแทนก๊าซหุงต้มอย่าง LPG หากผลิตก๊าซมีเทนได้มากพอ ก็สามารถนำไปเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าได้ด้วย

? ปุ๋ยชีวภาพจากขยะ : กากตะกอนที่เหลือซึ่งจุลินทรีย์ไม่สามารถย่อยสลายได้ ก็สามารถนำมาหมักเป็นปุ๋ยชีวภาพในชุมชน สร้างรายได้เสริมได้อีกด้วย

ขยะเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับชุมชน อยู่ที่ว่าจะจัดการอย่างไรให้ยั่งยืน ♻️

#6ปีERS #ERSFellowship #เข้าใจเพื่อไปต่อ #ก๊าซชีวภาพ #WastetoEnergy

ℹ️ อ่านเพิ่มเติม http://webkc.dede.go.th/testmax/node/2455

สามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่: https://www.facebook.com/ERSFellowship/photos/a.313664145510267/1381767435366594