ราคาน้ำมันไทย​ ทำไมขึ้นลงตามตลาดโลก ?

0
920

ราคาน้ำมันไทย​ ทำไมขึ้นลงตามตลาดโลก ?

ราคาน้ำมันไทย​ ทำไมขึ้นลงตามตลาดโลก ?
.
1. น้ำมันเป็น “สินค้าโภคภัณฑ์” เหมือนกับทองคำ มีคุณภาพใกล้เคียงกันทั่วโลก ไม่ว่าใครผลิต ? ผลิตที่ไหน ? << ที่ใดตั้งราคาถูก พ่อค้าก็จะซื้อแล้วขนไปขายในที่ที่แพงกว่า จนทำให้ราคาตลาดทั่วโลกปรับเท่า ๆ กัน (Abitrage) >> ถึงจะขุดน้ำมันได้บ้างในไทย ราคาก็ต้องขึ้นลงไปตามกลไกตลาดโลก เหมือนกับราคาทองคำไงล่ะ
.
2. แม้ต้นทุนผลิตต่างกัน ราคาเนื้อน้ำมันก็ใกล้เคียงกันทั่วโลก แต่ที่ราคาขายปลีกในแต่ละประเทศต่างกัน* เป็นเพราะแต่ละรัฐเก็บภาษีในอัตราต่างกัน …แล้วทำไม บางประเทศขายได้ต่ำมาก? ก็เพราะรัฐเก็บภาษีน้อยหรืออุดหนุนราคาด้วย
.
3. ในวิกฤตน้ำมันปี 2522-2523 รัฐบาลตั้งราคาคนไทย ไม่ให้ขึ้นตามตลาดโลก โดยควบคุมราคาขายปลีก บังคับให้ผู้ค้าที่ต้องซื้อน้ำมันแพง ขายในราคาถูก ส่งผลให้น้ำมันขาดตลาดไทย เพราะไม่มีใครยอมขายขาดทุน
.
4. เมื่อน้ำมันโลกพุ่งขึ้นสูง ในปี 2546 – 2548 รัฐตั้งราคาคนไทย…อีกครั้ง คราวนี้ป้องกันน้ำมันขาด โดยใช้ “กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง” อุ้มราคา “ราคาตลาดขึ้น ราคาคนไทยไม่ขึ้นตาม ⛽” เพราะมีเงินกองทุนฯ อุดหนุน …แต่ของฟรีไม่มีในโลก! เมื่อ “ราคาตลาดลง ราคาคนไทยยังลงไม่ได้ ! 😱 ” เพราะต้องทยอยจ่ายหนี้คืนกองทุนฯ
.
5. ผลคือ กองทุนน้ำมันหนี้ท่วม 84,000 ล้านบาท สุดท้าย คนไทยจ่ายแพงกว่าเดิม! เพราะฝืนกลไกตลาด ใช้น้ำมันถูกตอนแรก แต่ต้องซื้อน้ำมันแพงทีหลัง เพื่อใช้หนี้กองทุนน้ำมันฯ และแพงขึ้นไปอีก เพราะต้องจ่ายดอกเบี้ยถึง 6,000 ล้านบาท
.
<< ในวิกฤตปี พ.ศ. 2554 รัฐตั้งราคาคนไทย…ใช้วิธีเดิม ๆ อีกครั้ง คราวนี้ ป้องกันกองทุนฯ หนี้ท่วม โดยลดภาษีสรรพสามิตถล่มทลาย จาก 5 บาท เหลือ 0.5 สตางค์ ทำให้สูญเสียงบประมาณรัฐกว่า 100,000 ล้านบาทต่อปี ! เพิ่มหนี้สาธารณะ แล้วยังต้องใช้เวลา 5 ปี กว่าจะทยอยปรับขึ้นมาเป็นอัตราเดิมได้ >>
.
6. ช่วงน้ำมันแพงมาก 🔺 ไม่มีใครคิดประหยัด เพราะ “ไม่รู้สึก” 🤷‍♀️ ทำให้ปัญหามากและยืดเยื้อ ต้องจ่ายดอกเบี้ยมากมาย คนไทยต้องใช้หนี้ 2 ปี กว่าจะหมด แม้เมื่อน้ำมันถูกลง 🔻 แต่กลับยังต้องจ่ายแพง ! เพราะต้องใช้หนี้และดอกเบี้ยกองทุนน้ำมัน
.
7. ซ้ำร้าย ในขณะที่ GDP ชะลอตัวจนลดลง ในช่วง ปี 2546 – 2547 แต่การใช้น้ำมันดีเซลกลับเพิ่มสูงขึ้นผิดปกติ! น่าตกใจว่า น้ำมันส่วนหนึ่งถูกลักลอบขายตามชายแดน เท่ากับคนไทยต้องจ่ายเงินอุดหนุนค่าน้ำมันให้ประเทศเพื่อนบ้านไปด้วย !! 😱
.
8. สรุปว่า … ถ้าฝืนกลไกตลาด จะส่งผลเสียต่อทั้งเศรษฐกิจและผู้ใช้น้ำมันเอง
.
ไขข้อสงสัย “ราคาน้ำมันไทย” ในคลิปนี้ 📌
.
*ดูเทียบราคาน้ำมันทั่วโลกเพิ่มเติมได้ที่
เบนซิน เมื่อ 27 ส.ค. 2563 https://bit.ly/3ly7jy7
ดีเซล เมื่อ 25 มิ.ย. 2563 https://bit.ly/3lUGCUq
.
#6ปีERS #ERSFellowship #เข้าใจเพื่อไปต่อ #พลังงาน8บรรทัด #ราคาน้ำมัน
.
ℹ️ ที่มา Eppo http://www.eppo.go.th/index.php/th/energy-information/static-energy/static-petroleum?orders%5BpublishUp%5D=publishUp&issearch=1

Posted by กลุ่มปฏิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืน ERS on Wednesday, September 2, 2020

ราคาน้ำมันไทย​ ทำไมขึ้นลงตามตลาดโลก ?

  1. น้ำมันเป็น “สินค้าโภคภัณฑ์” เหมือนกับทองคำ มีคุณภาพใกล้เคียงกันทั่วโลก ไม่ว่าใครผลิต ? ผลิตที่ไหน ? << ที่ใดตั้งราคาถูก พ่อค้าก็จะซื้อแล้วขนไปขายในที่ที่แพงกว่า จนทำให้ราคาตลาดทั่วโลกปรับเท่า ๆ กัน (Abitrage) >> ถึงจะขุดน้ำมันได้บ้างในไทย ราคาก็ต้องขึ้นลงไปตามกลไกตลาดโลก เหมือนกับราคาทองคำไงล่ะ
  2. แม้ต้นทุนผลิตต่างกัน ราคาเนื้อน้ำมันก็ใกล้เคียงกันทั่วโลก แต่ที่ราคาขายปลีกในแต่ละประเทศต่างกัน* เป็นเพราะแต่ละรัฐเก็บภาษีในอัตราต่างกัน …แล้วทำไม บางประเทศขายได้ต่ำมาก? ก็เพราะรัฐเก็บภาษีน้อยหรืออุดหนุนราคาด้วย
  3. ในวิกฤตน้ำมันปี 2522-2523 รัฐบาลตั้งราคาคนไทย ไม่ให้ขึ้นตามตลาดโลก โดยควบคุมราคาขายปลีก บังคับให้ผู้ค้าที่ต้องซื้อน้ำมันแพง ขายในราคาถูก ส่งผลให้น้ำมันขาดตลาดไทย เพราะไม่มีใครยอมขายขาดทุน
  4. เมื่อน้ำมันโลกพุ่งขึ้นสูง ในปี 2546 – 2548 รัฐตั้งราคาคนไทย…อีกครั้ง คราวนี้ป้องกันน้ำมันขาด โดยใช้ “กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง” อุ้มราคา “ราคาตลาดขึ้น ราคาคนไทยไม่ขึ้นตาม ” เพราะมีเงินกองทุนฯ อุดหนุน …แต่ของฟรีไม่มีในโลก! เมื่อ “ราคาตลาดลง ราคาคนไทยยังลงไม่ได้ ! ” เพราะต้องทยอยจ่ายหนี้คืนกองทุนฯ
  5. ผลคือ กองทุนน้ำมันหนี้ท่วม 84,000 ล้านบาท สุดท้าย คนไทยจ่ายแพงกว่าเดิม! เพราะฝืนกลไกตลาด ใช้น้ำมันถูกตอนแรก แต่ต้องซื้อน้ำมันแพงทีหลัง เพื่อใช้หนี้กองทุนน้ำมันฯ และแพงขึ้นไปอีก เพราะต้องจ่ายดอกเบี้ยถึง 6,000 ล้านบาท

<< ในวิกฤตปี พ.ศ. 2554 รัฐตั้งราคาคนไทย…ใช้วิธีเดิม ๆ อีกครั้ง คราวนี้ ป้องกันกองทุนฯ หนี้ท่วม โดยลดภาษีสรรพสามิตถล่มทลาย จาก 5 บาท เหลือ 0.5 สตางค์ ทำให้สูญเสียงบประมาณรัฐกว่า 100,000 ล้านบาทต่อปี ! เพิ่มหนี้สาธารณะ แล้วยังต้องใช้เวลา 5 ปี กว่าจะทยอยปรับขึ้นมาเป็นอัตราเดิมได้ >>

  1. ช่วงน้ำมันแพงมาก ไม่มีใครคิดประหยัด เพราะ “ไม่รู้สึก” ทำให้ปัญหามากและยืดเยื้อ ต้องจ่ายดอกเบี้ยมากมาย คนไทยต้องใช้หนี้ 2 ปี กว่าจะหมด แม้เมื่อน้ำมันถูกลง แต่กลับยังต้องจ่ายแพง ! เพราะต้องใช้หนี้และดอกเบี้ยกองทุนน้ำมัน
  2. ซ้ำร้าย ในขณะที่ GDP ชะลอตัวจนลดลง ในช่วง ปี 2546 – 2547 แต่การใช้น้ำมันดีเซลกลับเพิ่มสูงขึ้นผิดปกติ! น่าตกใจว่า น้ำมันส่วนหนึ่งถูกลักลอบขายตามชายแดน เท่ากับคนไทยต้องจ่ายเงินอุดหนุนค่าน้ำมันให้ประเทศเพื่อนบ้านไปด้วย !!
  3. สรุปว่า … ถ้าฝืนกลไกตลาด จะส่งผลเสียต่อทั้งเศรษฐกิจและผู้ใช้น้ำมันเอง

ไขข้อสงสัย “ราคาน้ำมันไทย” ในคลิปนี้

*ดูเทียบราคาน้ำมันทั่วโลกเพิ่มเติมได้ที่

เบนซิน เมื่อ 27 ส.ค. 2563 https://bit.ly/3ly7jy7

ดีเซล เมื่อ 25 มิ.ย. 2563 https://bit.ly/3lUGCUq

#6ปีERS #ERSFellowship #เข้าใจเพื่อไปต่อ #พลังงาน8บรรทัด #ราคาน้ำมัน

ที่มา Eppo http://www.eppo.go.th/index.php/th/energy-information/static-energy/static-petroleum?orders%5BpublishUp%5D=publishUp&issearch=1

แสดงความคิดเห็นได้ที่: https://web.facebook.com/ERSFellowship/posts/1429316427278361