Home Tags เข้าใจเพื่อไปต่อ

Tag: เข้าใจเพื่อไปต่อ

video

หอพลังงานยักษ์ – แบตเตอรี่กักเก็บไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน

“หอพลังงานยักษ์” เป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่ช่วยกำจัดจุดอ่อนของแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่ไม่แน่นอนและจำเป็นต้องมีแหล่งกักเก็บพลังงานสำรอง หอพลังงานนี้ได้รับแรงบันดาลในการออกแบบจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ (Pumped Hydro Plant) ด้วยการใช้ประโยชน์จากแรงโน้มถ่วงที่น้ำจะไหลลงที่ต่ำ โดยหอพลังงานยักษ์มีเครนที่คอยดึงก้อนอิฐขึ้นไปไว้ด้านบน (เหมือนปั๊มน้ำไปเก็บไว้บนเขื่อน) เมื่อมีความต้องการไฟฟ้า เครนจะปล่อยก้อนอิฐลงมา เป็นการเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เหมือนน้ำที่ไหลลงมาปั่นไฟ) หอพลังงานนี้ สามารถตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าได้แบบเรียลไทม์ และสามารถจ่ายไฟเข้าสู่ระบบได้อย่างรวดเร็วและมีเสถียรภาพ ขณะนี้ ต้นแบบหอพลังงานยักษ์ยังอยู่ระหว่างการก่อสร้างในสวิตเซอร์แลนด์ มีความสูงถึง 60 เมตร และเป็นที่สนใจของนักลงทุนทั่วโลก คาดว่า จะมีการจัดจำหน่ายได้ในปลายปีนี้ (พ.ศ....

จะเป็นอย่างไร เมื่อ “ค่าไฟ” คิดตามระบบตลาด ?

จะเป็นอย่างไร เมื่อ “ค่าไฟ” คิดตามระบบตลาด ? ค่าไฟในเยอรมนีเคยติดลบ! เพราะมีการผลิตไฟฟ้าล้นเกินความต้องการจนต้องว่าจ้างผู้ซื้อไฟฟ้า เหตุเพราะต้นทุนในการหยุดผลิตแล้วกลับมาเดินเครื่องใหม่นั้น สูงกว่าการทนเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าแล้วยอมจ่ายเงินจ้างให้คนอื่นมาใช้ไฟฟ้า โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน หรือแก๊สธรรมชาติ ทั้งนี้ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นได้ก็เนื่องจากในเยอรมนีราคาไฟฟ้าถูกกำหนดโดยกลไกตลาด ซึ่งมีผู้ค้าและผู้ใช้ไฟรายใหญ่แข่งกันซื้อไฟจากโรงไฟฟ้าต่างๆ โดยผู้ค้าขายไฟต่อให้กับผู้บริโภคทั่วไปซึ่งก็มีทางเลือกในการซื้อไฟเช่นกัน กรณีค่าไฟติดลบนี้เป็นผลดีต่อเหล่าผู้ค้าโดยตรง ส่วนผู้บริโภคก็ได้ค่าไฟที่ต่ำลงตามแต่ลักษณะของสัญญาที่ทำไว้กับผู้ค้านั้นๆ แต่จะไม่ถึงกับติดลบ เพราะค่าไฟที่คนเยอรมันจ่ายมีสัดส่วนต้นทุนการซื้อไฟเพียง 20% ที่เหลือเป็นภาษีและค่าสนับสนุนพลังงานหมุนเวียน ในตลาดพลังงานไทยที่รัฐวิสาหกิจผูกขาดเป็นผู้จัดการระบบไฟฟ้าตั้งแต่กลางน้ำ ไปจนปลายน้ำ โดยมีเอกชนเป็นผู้ร่วมผลิตไฟฟ้าป้อนเข้าระบบส่วนหนึ่งด้วย การคำนวณค่าไฟในไทยมาจาก ค่าไฟฟ้าฐานและค่า...

แบตเตอรี่: กุญแจสำคัญของยานยนต์ไฟฟ้า

สู่ยานยนต์ยุคใหม่  ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า  แบตเตอรี่ชี้ชะตา  โลกบอกลารถน้ำมัน  ความก้าวหน้าของ “แบตเตอรี่” จะช่วยขจัดอุปสรรคและทำให้รถยนต์ไฟฟ้าเป็นที่นิยมมากขึ้น ปัจจุบันรถยนต์ไฟฟ้ายังมีข้อจำกัดสำคัญ 2 ประการ คือ 1. ความยุ่งยากในการชาร์จแบตเตอรี่ไฟฟ้า สถานีเติมไฟฟ้ายังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ และการชาร์จไฟต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง แม้จะมีสถานีเติมไฟฟ้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑลมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ในต่างจังหวัดยังมีน้อย ทำให้ไม่สะดวกในการเดินทางไกล ๆ 2. ราคาของตัวรถ ที่เมื่อเทียบกับรถน้ำมันแล้วยังไม่คุ้มค่านัก รถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว (Battery Electric Vehicle - BEV) ที่มีจำหน่ายในไทย...

รายงานของสหประชาชาติชี้ว่า พลังงานสะอาดมีต้นทุนที่ถูกลงเป็นประวัติการณ์

รายงานของสหประชาชาติชี้ว่า พลังงานสะอาดมีต้นทุนที่ถูกลงเป็นประวัติการณ์ โดยเมื่อปี 2019 ทั่วโลกมีกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (ที่ไม่ใช่พลังน้ำ) เพิ่มขึ้นถึง 12% ขณะที่ใช้เงินลงทุนเพิ่มขึ้นเพียง 1% เมื่อเทียบกับปีก่อน และต้นทุนการผลิตจากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แห่งใหม่ ๆ ในช่วงครึ่งปีหลังของ 2019 ก็ลดลงถึง 83% เมื่อเทียบกับทศวรรษที่แล้ว รายงานของสหประชาชาติชี้ว่า พลังงานสะอาดมีต้นทุนที่ถูกลงเป็นประวัติการณ์ อย่างไรก็ดี แผนการลงทุนพลังงานสะอาดใน 10 ปีข้างหน้ายังไม่เพียงพอที่จะช่วยแก้ปัญหาโลกร้อนได้ โดยจะเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าได้เพียง 826...

ตลาดน้ำมันไทย ใครว่าผูกขาด?

ตลาดน้ำมัน ขาย “ตัดราคา” ได้ผลลัพธ์ระยะสั้น ระยะยาวเกิด “สงครามราคา” เสียหายทุกฝ่าย “ราคา” เป็นเพียงเครื่องมือทางการตลาดที่สามารถนำมาใช้ เพื่อเพิ่มยอดขายได้ แต่ต้องใช้ในสถานการณ์ที่เหมาะสม แม้เป็นกลยุทธ์ที่ง่ายแต่กลับไม่ได้ผลที่ยั่งยืน และในที่สุดก็จะเกิดสงครามราคา สร้างความเสียหายต่อทั้งตนเองและตลาด การตัดราคาจึงเป็นตัวเลือกสุดท้าย ตลาดน้ำมันก็เช่นกัน เพราะตลาดในประเทศมีจำกัด หากมีผู้ค้ารายใด หวังเพิ่มยอดขาย โดยตัดราคา เจ้าอื่นก็จะไม่ยอมเสียส่วนแบ่งตลาด แล้วลดราคาตาม ในที่สุดก็เกิดสงครามราคา ทุกรายก็จะอยู่ไม่ได้ เพราะขาดทุนกันหมดแบบปั๊ม JET...

ซื้อไฟฟ้าจากลาว 2 บาท ขายต่อคนไทย 4 บาท เอาเปรียบกันชัดๆ ไหม ?

Q: ซื้อไฟฟ้าจากลาว 2 บาท ขายต่อคนไทย 4 บาท เอาเปรียบกันชัดๆ ไหม ? A: ไฟฟ้าที่ใช้กันในประเทศไทยมาจากหลายแหล่งหลายเชื้อเพลิง ซึ่งมีต้นทุนไม่เท่ากัน ดังนั้นค่าไฟฟ้าจึงมาจากการเฉลี่ยต้นทุนต่าง ๆ และประเทศไทยก็ไม่สามารถซื้อไฟฟ้าพลังน้ำจากลาวมาใช้ทั้งหมดได้ แม้จะราคาถูกแต่มีปริมาณจำกัด ในปี พ.ศ.2562 ประเทศไทยมีกำลังผลิตทั้งระบบรวม 45,298.25 เมกะวัตต์ เป็นไฟฟ้าจากประเทศลาว 5,420.60 เมกะวัตต์...

ถ้าจะ “ผลิตไฟใช้เอง” ด้วยพลังงานหมุนเวียน ต้องคำนึงถึงอะไรกันบ้าง ?? 

หากจะติดตั้งระบบพลังงานหมุนเวียนผลิตไฟฟ้าในที่พักอาศัย ทางการสหรัฐฯ  ได้แนะนำไว้ว่า ต้องมีการวิเคราะห์ปริมาณการใช้ไฟ ศึกษากฎระเบียบ ไปจนถึงการตัดสินใจว่า จะเป็นระบบที่เชื่อมกับสายส่ง (On Grid) หรือไม่ (Off Grid) และต้องทำความเข้าใจกับทางเลือกของเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสถานที่ของเรา หากกำลังจะสร้างบ้าน ก็ควรผนวกรวมระบบผลิตไฟฟ้าเข้ากับการออกแบบ เพื่อให้ได้บ้านที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพด้วย จะติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง? ขนาดของระบบ เพราะจะเกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายที่จะตามมา พลังงานที่ใช้ขึ้นลงมากน้อยอย่างไรในหนึ่งวัน และตลอดเวลาทั้งปี ปริมาณที่คุณสามารถปรับลดได้ ทั้งนี้ ยังต้องคำนวณ Load ของเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ เช่น ตู้เย็น...

มาตรฐาน EURO4 ช่วยลดมลพิษทางอากาศได้อย่างไร

“ค่ามาตรฐาน EURO” ที่สูงขึ้น จะช่วยลดมลภาวะจากไอเสียและฝุ่นละอองของยานยนต์ ค่ามาตรฐาน EURO หรือ Euro Emission Standard คือ มาตรฐานไอเสียและมาตรฐานน้ำมันเชื้อพลิง ริเริ่มโดย กลุ่มประเทศในทวีปยุโรป ที่ได้วางกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อลดปัญหามลภาวะในอากาศที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี จึงจำเป็นต้องมีการควบคุมค่ามาตรฐานไอเสียในอุตสาหกรรมยานยนต์ และค่ามาตรฐานน้ำมันเชื้อเพลิง มีการแบ่งระดับตั้งแต่ EURO 1 ไปจนถึง 6 ยิ่งระดับสูงขึ้น ค่าไอเสียจะยิ่งลดลง...

MOST POPULAR