Home Tags เข้าใจเพื่อไปต่อ

Tag: เข้าใจเพื่อไปต่อ

ทำไมเก็บภาษีแล้ว ยังต้องเก็บเงินเข้ากองทุนอีก ?

Q: ทำไมเก็บภาษีแล้ว ยังต้องเก็บเงินเข้ากองทุนอีก ? A: ต้องเข้าใจก่อนว่าภาษีสรรพสามิตในน้ำมัน กับกองทุนน้ำมันทำหน้าที่ต่างกันค่ะ ภาษีนั้นจ่ายแล้วก็หายไปจากกระเป๋าเรา ส่วนการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันนั้น มักเกิดขึ้นในช่วงราคาขาลง ในทางกลับกันเวลาราคาน้ำมันเป็นช่วงขาขึ้น เงินกองทุนน้ำมันที่เราจ่ายไปก็จะถูกนำมาใช้อุดหนุนให้ราคาน้ำมันราคาถูกกว่าที่ควรจะเป็นในขณะนั้น เป็นเหมือนเงินที่ถ่ายเทจากกระเป๋าซ้าย ไปกระเป๋าขวาค่ะ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการใช้เงินกองทุนน้ำมันอุดหนุนเชื้อเพลิงชีวภาพ ไม่ได้เป็นการรักษาเสถียรภาพราคา แต่เป็นเสมือนการนำเงินจากผู้ใช้กลุ่มหนึ่ง ไปช่วยผู้ใช้อีกกลุ่ม เช่น ผู้ใช้แก๊สโซฮอล์ E85 และ E20 ได้รับเงินอุดหนุนจากผู้ใช้แก๊สโซฮอล์...

ถ้า “สีทาบ้าน” ทำให้บ้านเย็น จนช่วยลดค่าไฟได้ 

ถ้า “สีทาบ้าน” ทำให้บ้านเย็น จนช่วยลดค่าไฟได้ ทีมนักวิทยาศาสตร์จาก Purdue University สหรัฐอเมริกา ได้พัฒนาสีทาผนังอาคารชนิดใหม่ “Super White” เป็นสีอะคริลิกสีขาวเจิดจ้าจากแคลเซียมคาร์บอเนต แทนวัสดุทั่วๆ ไปที่ใช้สำหรับสีทาบ้าน (ไททาเนียมไดออกไซด์) ทำให้สีทาบ้านชนิดใหม่นี้สะท้อนแสงอาทิตย์ได้ถึง 95.5% โดยการสะท้อนแสงอาทิตย์ที่ตกกระทบผนังอาคารออกสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งสูงกว่าสีที่ช่วยสะท้อนความร้อนทุกชนิดที่เคยมีมา โดยทั่วไปจะช่วยสะท้อนแสงอาทิตย์ได้ราว 80-90% ทีมนักวิจัยเล่าว่านวัตกรรมนี้จะช่วยให้อุปกรณ์ทำความเย็นไม่ต้องทำงานหนัก เพราะสีช่วยให้อาคารเย็นลงได้ ซึ่งจะช่วยประหยัดพลังงานลงและบรรเทาปัญหาสภาพภูมิอากาศแปรปรวนได้อย่างดี ทั้งนี้...

เทคนิคประหยัดพลังงานจากรอบโลก

เทรนด์ประหยัดพลังงานจากรอบโลก มาดูกันว่า นานาประเทศมีเทคนิคสร้างสรรค์อย่างไรในการประหยัดพลังงาน เพื่อรับมือปัญหาโลกร้อน และช่วยลดค่าใช้จ่ายอีกด้วย ญี่ปุ่น เน้นการใช้ผนังและม่าน “สีเขียว” ด้วยการปลูกไม้ดอกไม้ประดับไว้บนกำแพง เพื่อช่วยสะท้อนความร้อนจากแสงอาทิตย์ออกจากตัวอาคารในฤดูร้อน ทั้งยัง ช่วยรักษาอุณหภูมิให้ต่ำกว่าอากาศโดยรอบได้สูงถึง 10 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว ส่วนในฤดูหนาวกำแพงต้นไม้นี้ยังช่วยเป็นฉนวนกันความหนาวเย็นได้อีกด้วย ทั้งหมดนี้ไม่ต้องใช้พลังงานใดๆ นอกจากแสงอาทิตย์และน้ำเท่านั้น เยอรมัน นิยมใช้เทคนิคที่เรียกว่า Passive Housing ในการออกแบบบ้านและระบบการบริหารจัดการอุณหภูมิให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม เช่น...

ไฟฟ้าแบบเติมเงิน จากโซลาร์โฮมบนเกาะที่สตูล

บ้านเกาะบุโหลนดอน สตูล ชุมชนนำร่องไทยใช้ระบบโซลาร์โฮมแบบเติมเงิน จากที่ชาวบ้านเกาะบุโหลนดอน ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล เคยใช้ไฟได้แค่วันละ 5 ชั่วโมง ด้วยพลังงานไฟฟ้าจากเครื่องปั่นไฟ ปัจจุบัน ชาวบ้านทั้ง 80 ครัวเรือน สามารถใช้ไฟได้ 24 ชั่วโมง โดยเลือกซื้อไฟตามความต้องการใช้และความสามารถในการจ่ายเงิน จากระบบ “โมเดลการพัฒนากองทุนหมุนเวียนโซล่าโฮมแบบเติมเงิน (Pay-As-You-G๐ Solar Home System)...

ชาร์จไฟแบบไร้สาย ช่วยส่งเสริมรถ EV

การชาร์จแบบไร้สาย ปัจจัยขับเคลื่อนรถยนต์ไฟฟ้า การชาร์จรถ EV แบบไร้สายอาจมาแทนการชาร์จแบบเสียบปลั๊กได้ในอนาคตอันใกล้ ทำให้การใช้รถ EV สะดวกสบายขึ้น เพียงแค่จอดรถยนต์ไว้เหนือแผ่นที่เชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าเท่านั้น แผ่นที่เชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าก็จะใช้สนามแม่เหล็กส่งพลังงานผ่านอากาศมายังรถยนต์ไฟฟ้า เทคโนโลยีนี้จะช่วยทำให้คนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้นได้ โดยที่ Society of Automotive Engineers International ได้เผยแพร่มาตรฐานการชาร์จแบบไร้สาย (Wireless Power Transfer: WPT) เพื่อการออกแบบ ผลิต และตรวจสอบ สำหรับการใช้งานที่ถูกต้อง...

การไฟฟ้าเอาเปรียบประชาชนจริงหรอ ?

การไฟฟ้าคืนทุนมานานแล้ว ที่เก็บอยู่ทุกวันนี้คือเอาเปรียบ จริงหรือ ? ไม่จริง รัฐวิสาหกิจการไฟฟ้า (กฟผ. + กฟน. + กฟภ.) มีรายได้ในปี 2562 รวม 6.8 แสนล้านบาท มีกำไรสุทธิ 5.6 หมื่นล้านบาท (~8% ของรายได้) ส่งรายได้ให้รัฐ 3.5 หมื่นล้านบาท (~63%...

Brexit จะส่งผลให้ค่าไฟฟ้าของสหราชอาณาจักรสูงขึ้น

การถอนตัวของอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) อาจทำให้คนอังกฤษต้องใช้ไฟแพงขึ้น ! ทศวรรษที่ผ่านมา อังกฤษซื้อไฟฟ้าจากตลาดต่างประเทศ 2 แห่ง คือ Nord Pool ของนอร์เวย์ และ Epex Spot ของฝรั่งเศส โดยผ่านระบบที่กำหนดค่าไฟฟ้าสำหรับทั้งประเทศ ภายใต้กฎกติกาของตลาดพลังงานร่วมของสหภาพยุโรป เมื่ออังกฤษออกจากสมาชิกภาพของสหภาพยุโรป (EU) ในปีหน้าก็จะออกจากระบบตลาดพลังงานร่วมดังกล่าว โดยยังไม่มีระบบใหม่รองรับ ทำให้ต้องแยกการประมูลเพื่อซื้อไฟฟ้าในตลาดรายวันทีละตลาด (Pool) ซึ่งเป็นวิธีที่ด้อยประสิทธิภาพและคาดว่าจะส่งผลให้ค่าไฟแพงขึ้น แม้สถานการณ์ปัจจุบันยังไม่มีอะไรแน่ชัดว่าราคาจะเป็นไปในทิศทางใด แต่งานวิจัยจาก...

สิงคโปร์มุ่งเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาด

สิงคโปร์มุ่งเพิ่มสัดส่วนเชื้อเพลิงประเภทพลังงานสะอาด นายชาน ชุน ซิง รัฐมนตรีกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม ได้แถลงถึงขั้นตอนต่างๆ ที่รัฐบาลสิงคโปร์กำลังดำเนินการเพื่อจะเป็น “ประกายไฟสีเขียวเจิดจ้า (Bright Green Spark)” หรือเป็นต้นแบบของประเทศที่ใส่ใจอย่างจริงจังที่จะสร้างวิถีชีวิตที่ยั่งยืนมากยิ่งขึ้น ด้วยเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนแหล่งพลังงานสะอาด โดยมีมาตรการหลากหลายในการบรรลุเป้าหมายนี้ ตั้งแต่ โครงการนำร่องนำเข้าไฟฟ้าจากมาเลเซีย 100 MW โดยเน้นการนำเข้าไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน ผ่านโครงข่ายไฟฟ้า The Energy Market Authority (EMA) ปริมาณนำเข้าคิดเป็น 1.5%...

ระบบดิจิทัล+แรงจูงใจ แก้ปัญญาขยะล้นเมือง

อินเดียเริ่มแล้ว ! จากประเทศที่ประสบปัญหาขยะพลาสติกล้น เกิดระบบการจัดการขยะชื่อ “Rethink+” ประกอบด้วยแพลทฟอร์มออนไลน์ที่เชื่อมต่อกับประชาชนทั่วไปได้อย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก พร้อมทั้งมีรางวัลตอบแทนให้ด้วย Rethink+ จะเชื่อมโยงผู้ที่เกี่ยวข้องกับขยะอย่างครบวงจร ตั้งแต่ผู้บริโภค/ผู้สร้างขยะ ผู้รับซื้อขยะ ผู้บำบัดขยะ และผู้จัดการขยะ ผู้บริโภคสามารถบันทึกรายละเอียดขยะที่ต้องการกำจัดผ่านแอปพลิเคชัน นัดเวลากับผู้รับซื้อหรือนำขยะไปส่งที่จุดรวบรวม ก่อนจะรับคะแนนสะสมเพื่อนำไปแลกรับคูปองออนไลน์ ขยะพลาสติกที่เก็บรวบรวมผ่านโครงการ Rethink+ จะถูกนำเข้าสู่กระบวนการหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Upcycling แปลงเป็นสินค้าชนิดอื่น ๆ หรือ Pyrolysis ที่เป็นกระบวนการนำไปหลอมด้วยความร้อนจนใช้เป็นเชื้อเพลิงได้...

มีประเทศไหนใช้น้ำมันผสมไบโอดีเซลเหมือนบ้านเราไหม ?

Q: มีประเทศไหนใช้น้ำมันผสมไบโอดีเซลเหมือนบ้านเราไหม ? A: ต่างประเทศมีอย่างน้อย 56 ประเทศที่ใช้ไบโอดีเซล อาทิ สหรัฐอเมริกา บราซิล ฝรั่งเศส อินโดนีเซีย และเยอรมนี ซึ่งใช้ใบโอดีเซลรวมกันมากกว่า 50% ของการใช้ทั่วโลก นอกจากปาล์มน้ำมันแล้ว ยังมีพืชชนิดอื่น ๆ ที่สามารถผลิตไบโอดีเซลได้ โดยแต่ละประเทศที่กล่าวมาข้างต้นก็จะใช้วัตถุดิบหลักที่แตกต่างกันไป เช่น สหรัฐอเมริกา > ถั่วเหลือง, น้ำมันพืชใช้แล้ว บราซิล >...

MOST POPULAR