Home Tags เข้าใจเพื่อไปต่อ

Tag: เข้าใจเพื่อไปต่อ

ก๊าซไทย คิดราคาอย่างไร ?

Q: ก๊าซไทย คิดราคาอย่างไร ? A: ก๊าซเชื้อเพลิงที่ใช้ในไทย 69% ผลิตจากในประเทศ ซึ่ง 67% มาจากอ่าวไทย 2% จากบนบก ที่เหลือต้องนำเข้า 16% จากพม่า และ 15% มาจาก LNG (ข้อมูลปี 2562) ก๊าซธรรมชาติที่ขุดได้จากอ่าวไทยเป็นก๊าซหนัก ต้องผ่านโรงแยกก๊าซธรรมชาติเพื่อแยกก๊าซเชื้อเพลิงออกจากสารอื่นๆ ที่นำไปเพิ่มมูลค่าในโรงงานปิโตรเคมี การใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิงมี...
video

หุ่นยนต์เรือโดยสาร

เรือโดยสารไร้คนขับ จะเริ่มแล้ว… ตามคลองต่าง ๆ ในเมืองอัมสเตอร์ดัม ทีมวิศวกรจาก MIT กำลังพัฒนา Roboats หรือเรือยนต์โดยสารไร้คนขับเป็นครั้งแรกของโลกโดยดัดแปลงโปรแกรมที่ใช้นำทางในรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยตนเองมาให้เหมาะสมกับการแล่นเรือบนน้ำ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนากองเรือของ “แพหุ่นยนต์โดยสาร” ซึ่งจะเปิดให้บริการในกรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นที่แรกเนื่องจากมีศักยภาพสำหรับการสัญจรและการจัดส่งสินค้าและบริการทางน้ำ แม้ว่าเรือไร้คนขับขนาดเล็กสำหรับขนส่งสินค้าจะมีใช้มาก่อนหน้านี้หลายปีแล้ว แต่ตอนนี้ทางทีมนักวิจัยได้เพิ่มเรือไร้คนขับรุ่นใหม่ “Roboat II” ที่สามารถรองรับผู้โดยสารได้ราว 4-6 คน ความอัจฉริยะของเรือโดยสารนี้คือโปรแกรมการนำทางที่มีประสิทธิภาพสูง Roboat II สามารถแล่นไปตามคลองของอัมสเตอร์ดัม...

ไทยพร้อมเดินหน้าเป็นตลาดซื้อขายไฟฟ้าอาเซียน

ไทยพร้อมเดินหน้าสู่การเป็นศูนย์กลางซื้อขายไฟฟ้าของอาเซียนในอนาคต กฟผ. และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเปิดเผยผลการศึกษาว่า กฟผ. ได้ เล็งเห็นถึงศักยภาพของประเทศไทยและโอกาสในการจัดตั้งตลาดซื้อขายไฟฟ้าเสรีในระดับขายส่ง ซึ่งจะมีรูปแบบคล้ายตลาดซื้อขายไฟฟ้าในยุโรปที่ประกอบด้วยตลาดซื้อขายไฟฟ้าล่วงหน้าหนึ่งวัน (Day-Ahead Market) และตลาดซื้อขายไฟฟ้าระหว่างวัน (Intraday Market) กฟผ. จะเป็นผู้กำกับดูแลกฎระเบียบการซื้อขายไฟฟ้าและตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นผู้ให้คำปรึกษาในการพัฒนาระบบซื้อขายในระดับขายส่ง เมื่อตลาดดังกล่าวมีเสถียรภาพและสภาพคล่องแล้ว แผนการถัดไปคือการพิจารณาให้มีการซื้อขายในตลาดซื้อขายกำลังการผลิตไฟฟ้า (Capacity Market) สำหรับการจัดหากำลังการผลิตล่วงหน้า และพัฒนาต่อเพื่อเป็นสินค้าในตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (TFEX) ในอนาคตด้วย ทั้งนี้ แม้ว่าประเทศไทยจะมีศักยภาพในการจัดตั้งตลาดซื้อขายไฟฟ้าในอาเซียน เนื่องจากมีโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่ง แต่ก็ยังต้องมีการพัฒนาอีกหลายจุด...

อังกฤษรับมือไฟฟ้า Oversupply อย่างไร

การใช้ไฟฟ้าน้อยลงอย่างมากในช่วงวิกฤต COVID-19 ส่งผลกะทบต่อเสถียรภาพการจ่ายไฟของประเทศอังกฤษ ได้เช่นเดียวกับการที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงมากเกินไป ในช่วง COVID-19 ชาวอังกฤษส่วนใหญ่ต้องอยู่บ้านหรือทำงานที่บ้านในช่วงล็อกดาวน์ ในขณะที่โรงเรียน สำนักงาน โรงงาน ร้านค้าและร้านอาหารต้องปิดตัวลง ทำให้ความต้องการพลังงานไฟฟ้ารวมของอังกฤษลดลงกว่า 20% ศูนย์ควบคุมการจ่ายไฟฟ้าของประเทศอังกฤษจะหันไปใช้ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานลมมากขึ้น เพราะสามารถควบคุมการตัดจ่ายไฟฟ้าได้ง่ายและรวดเร็วตามความผันผวนมากกว่าปรกติตามพฤติกรรมผู้ใช้ไฟฟ้าตามบ้าน เมื่อเทียบกับสำนักงาน โรงงาน โรงเรียน ร้านค้า เป็นต้น ในขณะเดียวกันอังกฤษก็หยุดซื้อไฟฟ้าซึ่งส่งผ่านทางเคเบิลใต้ทะเลจากทวีปยุโรปเพื่อลดกำลังการผลิตไฟฟ้าเกิน รวมทั้งเจรจาให้ผู้ผลิตไฟฟ้ารายย่อยหยุดการผลิต และให้โรงไฟฟ้าพลังน้ำใช้ไฟฟ้าส่วนเกินสูบน้ำกลับขึ้นเหนือเขื่อน...

บริษัท Equinor ปรับทัพ เพิ่มผู้บริหารหญิงระดับสูง

บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่จากนอร์เวย์ Equinor ปรับทัพเพิ่มสัดส่วนผู้หญิงในผู้บริหารระดับสูง หลังจากบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่จากนอร์เวย์ Equinor ได้แต่งตั้ง CEO คนใหม่ช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา บริษัทก็ได้มีการปรับโครงสร้างองค์กรครั้งสำคัญ โดยการลดจำนวนตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง (จาก 12 เหลือ 11 คน) และ เพิ่มสัดส่วนผู้หญิง (จาก 3 เป็น 5 คน) เพื่อส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ CEO...

ถ้าให้เอกชนเข้ามาขายไฟฟ้า ค่าไฟจะแพงขึ้น เพราะเอกชนก็จะเอาแต่กำไรสูง ๆ จริงหรือ ?

Q: ถ้าให้เอกชนเข้ามาขายไฟฟ้า ค่าไฟจะแพงขึ้น เพราะเอกชนก็จะเอาแต่กำไรสูง ๆ จริงหรือ ? A: ไม่จริงค่ะ การให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตไฟฟ้านั้น ทำผ่านกลไกการแข่งขันซึ่งทำให้ได้ต้นทุนถูกที่สุด โรงไฟฟ้าเอกชนที่จะได้สร้างต้องชนะการประมูลแข่งขัน โดยราคาที่เข้าประมูลจะต้องต่ำกว่าต้นทุนสร้างโรงไฟฟ้าของ กฟผ. ในช่วงนั้น ๆ จึงไม่ได้เป็นการเพิ่มภาระค่าไฟสำหรับผู้บริโภคค่ะ เพราะถ้าเอกชนไม่ได้สร้าง กฟผ. ก็จะเป็นผู้สร้างเอง ซึ่งอาจจะแพงกว่าที่เอกชนประมูลก็ได้ จริงอยู่ กำไรเอกชนเข้ากระเป๋านายทุน แต่ก็ไม่แปลกเพราะเงินลงทุนมาจากเอกชน และเขาต้องจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลให้รัฐก่อน นอกจากนี้ ระบบของเอกชนมีความคล่องตัว...

นวัตกรรมโซล่าเซลล์ อัพเดตใหม่

ลืมภาพจำของแผงโซลาร์เซลล์หนาๆ ราคาแพงที่ติดตั้งยากไปได้เลย! เพราะเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ในปี 2020 นี้พัฒนาไปไกลมาก มาอัพเดตกันหน่อยว่ามีนวัตกรรมอะไรที่น่าจับตามองบ้าง โซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ (Floating Solar Farms / Floatovoltaics): ออกแบบมาให้ลอยบนน้ำได้ สำหรับนำไปติดตั้งในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น อ่างเก็บน้ำหรือเขื่อน ซึ่งจะได้รับแสงอาทิตย์อย่างล้นเหลือโดยไม่ต้องเปลืองที่ อีกทั้งกำลังผลิตของแผ่นโซลาร์เซลล์ยังเพิ่มขึ้นราว 10% เนื่องจากมีน้ำคอยช่วยระบายความร้อนของระบบที่เกิดขึ้นระหว่างการผลิตไฟฟ้า ในไทยเองก็เริ่มมีฟาร์มแสงอาทิตย์ลอยน้ำบ้างแล้ว เช่น โซลาร์เซลล์ลอยน้ำของ เขื่อนศรีนครินทร์ ของ...

ปลูกป่าเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน…ยังไม่พอ

ปลูกป่า  เพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน ...ยังไม่พอ การปลูกป่าเพื่อช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์มีสิ่งที่ต้องคำนึงหลายข้อ ทั้งสังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม ยังต้องมีมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการใช้พลังงานของมนุษย์ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาโลกร้อนร่วมกันด้วย หากปลูกป่าให้ลดภาวะโลกร้อนอย่างมีประสิทธิผล … 1. ควรทำในพื้นที่เขตร้อนซึ่งต้นไม้เจริญเติบโตได้ดีกว่า จึงดูดซับคาร์บอนไดออกไซต์จากบรรยากาศได้มากกว่า 2. ควรคำนึงถึงความหลากหลายทางชีวภาพของผืนป่าที่จะปลูกใหม่ 3. การปลูกป่าแปลงใหญ่ ต้องคำนึงถึงผลกระทบทางสังคมด้วย เพราะพื้นที่ปลูกป่าแปลงใหญ่ตามนโยบายรัฐต้องระวังผลกระทบต่อพื้นที่ทำกินของประชาชนด้วย จากการศึกษาเกี่ยวกับ “ความสัมพันธ์ระหว่างภูมิอากาศและป่า” พบว่า การปลูกต้นไม้ในเขตอบอุ่นหรือเขตหนาวที่ต้นไม้จะค่อยๆ โตนั้น อาจไม่ได้ผลดีนัก นอกจากนี้ การปลูกป่าทดแทนต้องระวังผลกระทบต่อระบบนิเวศด้วย เนื่องจากความหลากหลายทางชีวภาพอาจต่ำลงและพืชพรรณก็ไม่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม นอกเหนือจากการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยการอนุรักษ์ป่าแล้ว การลดการปลดปล่อยคาร์บอนให้เป็น 0...

พลังงานลม ความหวังสำคัญของไฟฟ้าสะอาด

ความหวังพลังงานสะอาดของโลกจาก “ฟาร์มกังหันลม” นอกจากโซลาร์เซลล์ที่คนไทยรู้จักคุ้นเคยอยู่แล้ว ในช่วง 10 ปีหลังมานี้ ฟาร์มกังหันลมมีอัตราการขยายตัวค่อนข้างสูง และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลกด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้นและต้นทุนที่ต่ำลง Global Wind Energy Council : GWEC รายงานว่าในปี 2561 เพียงปีเดียว กำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมเพิ่มขึ้นประมาณ 51,900 เมกะวัตต์ และอุตสาหกรรมนี้ได้ก่อให้เกิดการจ้างงานราว 1.2 ล้านตำแหน่ง โดยประเทศที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมได้มากที่สุดในโลก 5 อันดับแรกประกอบด้วย จีน...

ซาอุฯ เตรียมหารือกับ UAE ปรับเพดานปริมาณการผลิตน้ำมัน

ซาอุดิอาระเบียกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เตรียมหารือการปรับเพดานปริมาณการผลิตน้ำมัน ก่อนหน้านี้กลุ่มโอเปกพลัสได้กล่าวอย่างเปิดเผยว่ามีความเป็นไปได้ที่จะปรับเปลี่ยนข้อตกลงในการจำกัดเพดานปริมาณการผลิตน้ำมันของกลุ่มที่คาดว่าอาจจะเพิ่มเพดานการผลิตน้ำมันขึ้นในเดือนมกราคมปีหน้า ในขณะที่ซาอุดิอาระเบียกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์สมาชิกหลักของกลุ่มยังไม่รับปากที่จะปรับเปลี่ยนนโยบายดังกล่าวก่อนการประชุมของกลุ่มสิ้นเดือนพฤศจิกายนนี้ ซึ่งจะมีการหารือเกี่ยวกับการรับมือสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 รอบใหม่ที่ทำให้หลายประเทศในยุโรปต้องประกาศมาตรการล็อกดาวน์อีกครั้งและส่งผลต่อความต้องการใช้น้ำมันที่ลดลง กลุ่มโอเปกพลัสเดิมมีนโยบายการลดปริมาณการผลิตน้ำมันลง 7.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน และมีแผนที่จะผ่อนคลายมาตราการลดการผลิตนี้ในปีหน้า ซึ่งอาจจะทำให้เพดานการผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันได้เกือบ 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยทางแอลจีเรียในฐานะประธานกลุ่มโอเปกได้กล่าวว่าซาอุดิอาระเบียและรัสเซียพยายามกดดันให้ประเทศสมาชิกจำกัดการผลิตน้ำมันต่อไปจนถึงปีหน้าแทนที่จะค่อยๆ เพิ่มปริมาณการผลิตตามแผนเดิม ซึ่งแอลจีเรียเองก็สนับสนุนแนวคิดดังกล่าว อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/32su4vr #ERSFellowship #เข้าใจเพื่อไปต่อ #จับข่าวคุย แสดงความคิดเห็นได้ที่: https://www.facebook.com/ERSFellowship/photos/a.299602063583142/1492160867660583/  

MOST POPULAR