Home Tags ประเด็นเด่น

Tag: ประเด็นเด่น

พลังงานหมุนเวียนในยุคโควิดระบาด

พลังงานหมุนเวียนในยุคโควิดระบาด เมื่อเร็วๆ นี้ องค์การพลังงานระหว่างประเทศหรือ International Energy Agency (IEA)  ได้เผยแพร่รายงานเรื่อง Renewables 2020 (หรือ พลังงานหมุนเวียน ปี 2020) โดยมีเนื้อหาที่น่าสนใจสมควรนำมาเล่าสู่กันฟังดังต่อไปนี้ ในปี ค.ศ. 2020 ที่โรคโควิด 19 กำลังระบาดอย่างรุนแรงอยู่นี้ IEA คาดว่าการล็อกดาวน์และความตกต่ำทางเศรษฐกิจจะทำให้ความต้องการใช้พลังงานโดยรวมของโลกมีปริมาณลดลงประมาณ 5% แต่ปรากฏว่าปริมาณพลังงานหมุนเวียนที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้ากลับเพิ่มขึ้นเกือบ...

ทำไมต้องอ้างอิงราคานำเข้าจากตลาดต่างประเทศ ทั้งที่ต้นทุนก๊าซส่วนใหญ่เป็นของไทย ?

Q: ทำไมต้องอ้างอิงราคานำเข้าจากตลาดต่างประเทศ ทั้งที่ต้นทุนก๊าซส่วนใหญ่เป็นของไทย ? A: โครงสร้างราคาพลังงานในประเทศไทยนั้นถูกกำกับดูแลโดยภาครัฐ การอ้างอิงราคาตลาดโลกไม่ใช่เพื่อปกป้องผู้ผลิต แต่เป็นการสร้างระบบราคาที่เป็นธรรมกับทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค เนื่องจากปิโตรเลียมเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่สามารถขนส่งซื้อขายได้ง่าย ราคาจึงมีแนวโน้มที่จะเป็นไปตามราคาตลาดโลกหรือตลาดภูมิภาค* หากปล่อยให้ผู้ผลิตคิดราคาแบบ Cost Plus คือบวกกำไรไปบนต้นทุน ก็มีโอกาสสูงที่จะทำให้ผู้บริโภคไทยใช้ของแพง เพราะไม่มีการแข่งขันจากการนำเข้า ดังเช่นกรณีของเอทานอลแพงที่หลายคนเริ่มรู้สึกกันแล้ว การที่ประเทศไทยเปิดเสรีให้นำเข้าปิโตรเลียมได้จึงเป็นการบังคับให้ผู้ผลิตต้องลดต้นทุนและบริหารให้แข่งขันได้กับราคานำเข้า อย่างไรก็ตามเมื่อพูดถึงก๊าซที่ผลิตได้เองในประเทศ ต้องแยกแยะระหว่างก๊าซธรรมชาติ**ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้า กับก๊าซ LPG ที่ใช้หุงต้มในครัวเรือน เฉพาะราคา LPG เท่านั้นที่มีการอ้างอิงราคานำเข้าจากต่างประเทศ...

ERS ยื่นเอกสารถึง รมว.พลังงาน

ERS ยื่นเอกสาร รมว.พลังงาน นำเสนอแนวทางการปฏิรูปพลังงานอย่างยั่งยืน พร้อมหารือประเด็นเกี่ยวข้อง  เมื่อ 3 ธันวาคม 2563 ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ พร้อมด้วยส่วนหนึ่งของแกนนำกลุ่มปฏิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืน หรือ ERS (the fellowship of Energy Reform for Sustainability) เข้าพบรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ เพื่อมอบเอกสารข้อเสนอแนวทางการปฏิรูปพลังงานของประเทศ...

วันนี้น้ำมันยังแพงเพราะเอทานอล จริงหรือ

เอทานอล ทำแก๊สโซฮอล์แพง จริงหรือ ? แม้ราคาน้ำมันในตลาดโลกลดต่ำลงไปหลายปีแล้วโดยเฉพาะในช่วงโควิดระบาด แต่ผู้ใช้รถยังรู้สึกว่าราคาหน้าปั๊มไม่ได้ลดลงเท่าที่ควร เพราะส่วนผสมเชื้อเพลิงชีวภาพทั้งในกลุ่มเบนซินและดีเซลไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปตามตลาดน้ำมันปิโตรเลียม สำหรับกลุ่มเบนซินซึ่งคือแก๊สโซฮอล์ ...เข้าใจได้ใน #พลังงาน8บรรทัด ดังนี้ ประเทศไทยใช้เอทานอลมาผลิตแก๊สโซฮอล์เพื่อเป็นเชื้อเพลิงในภาคขนส่ง โดยเป็นนโยบายรัฐเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ในการรักษาเสถียรภาพราคาอ้อยและมันสำปะหลัง การผลิตเอทานอลในประเทศไทยใช้วัตถุดิบหลัก 2 อย่าง คือ กากน้ำตาลจากอ้อย (โมลาส) และมันสำปะหลัง โครงสร้างราคาเอทานอลในอดีตเมื่อเริ่มผลิตในประเทศไทยปี พ.ศ.2544 รัฐใช้ราคารับซื้อที่อิงกับตลาดโลกเพื่อจูงใจให้ผู้ผลิตพัฒนาประสิทธิภาพให้แข่งขันได้...

เมืองไทยชอบกล! ให้เอกชนผลิตไฟฟ้าแข่งกับรัฐ?

Q: เมืองไทยชอบกล! ให้เอกชนผลิตไฟฟ้าแข่งกับรัฐ? A: ถ้าดูแนวโน้มนโยบายเศรษฐกิจทั่วโลก จะเห็นว่าเมืองไทยไม่แปลกเลย เพราะมีการใช้ประโยชน์ของภาคเอกชนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแทบทุกประเทศ ตัวอย่างที่โดดเด่นที่สุด คือ ประเทศจีน ซึ่งเคยเป็นระบบคอมมิวนิสต์ที่รัฐผูกขาดการผลิตแทบทั้งหมด ก็ได้แปรรูปโดยใช้กลไกตลาดและแรงจูงใจของเอกชน จนทำให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างมหาศาล อีกทั้งความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วไปก็ดีขึ้นมากดังที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ ตัวอย่างอื่นใกล้บ้านเราก็มี เช่น ประเทศเวียดนาม สังเกตได้ว่าแม้กระทั่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 หมวด 6 มาตรา 75 ก็ระบุว่า รัฐจะไม่ประกอบกิจการที่แข่งขันกับเอกชนในธุรกิจที่เอกชนดำเนินการได้...

ไทยขุดน้ำมันไม่พอใช้แล้วทำไมส่งออก

ไขข้อสงสัยเรื่อง #น้ำมันไทย ขุดได้มากน้อยแค่ไหน? แล้วทำไมต้องส่งออก? 1– ประเทศไทยผลิตน้ำมันดิบและคอนเดนเสทได้เองในประเทศ 218 พันบาร์เรล/วัน (KBD) โดยเป็นการผลิตน้ำมันดิบ 134 KBD ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 31 ของโลก ทั้งนี้ ปิโตรเลียมที่ขุดได้จากใต้พิภพไทย ยังมีก๊าซธรรมชาติอีกด้วย ในปริมาณ 585 ล้าน BOE (Barrel of...

ชัยชนะของโจ ไบเดนกับนโยบายพลังงานของสหรัฐฯ

ชัยชนะของโจ ไบเดนแห่งพรรคเดโมแครต ต่อประธานาธิบดีโดนัล ทรัมป์แห่งพรรครีพับลิกันในศึกชิงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐฯในครั้งนี้ จะส่งผลให้มีการเปลี่ยนโฉมหน้านโยบายพลังงานของสหรัฐฯครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่งอย่างแน่นอน ไบเดนประกาศอย่างชัดเจนว่าเขาสนับสนุนพลังงานสะอาด และตั้งเป้าหมายว่าสหรัฐฯจะเป็นประเทศที่ปลดปล่อยมลภาวะเป็นศูนย์ (net zero emissions) ภายในปีค.ศ. 2050 ดังนั้นอุตสาหกรรมพลังงานจะต้องลดการปล่อยมลภาวะลงเป็นศูนย์ภายในปี 2035 ภายใต้นโยบายดังกล่าว ไบเดนระบุว่าเขาจะนำสหรัฐฯกลับเข้าสู่ข้อตกลงกรุงปารีส (Paris Climate Agreement) ที่ประธานาธิบดีทรัมป์เพิ่งเซ็นถอนตัวออกมาอย่างเป็นทางการ ไม่กี่วันก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 3 พ.ย.ที่ผ่านมา ไบเดนมองว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เป็นภัยคุกคามที่มีอยู่อย่างชัดเจนต่อโลกใบนี้...

ก๊าซไทย คิดราคาอย่างไร ?

Q: ก๊าซไทย คิดราคาอย่างไร ? A: ก๊าซเชื้อเพลิงที่ใช้ในไทย 69% ผลิตจากในประเทศ ซึ่ง 67% มาจากอ่าวไทย 2% จากบนบก ที่เหลือต้องนำเข้า 16% จากพม่า และ 15% มาจาก LNG (ข้อมูลปี 2562) ก๊าซธรรมชาติที่ขุดได้จากอ่าวไทยเป็นก๊าซหนัก ต้องผ่านโรงแยกก๊าซธรรมชาติเพื่อแยกก๊าซเชื้อเพลิงออกจากสารอื่นๆ ที่นำไปเพิ่มมูลค่าในโรงงานปิโตรเคมี การใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิงมี...

ความท้าทายของการบริหารสำรองไฟฟ้า

เมื่อปลายเดือนที่แล้วกลุ่มปฏิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืน (ERS) ได้แถลงข่าวเนื่องในโอกาสครบรอบ 6 ปีแห่งการก่อตั้งกลุ่ม โดยได้พูดถึงการผลักดันนโยบายพลังงานต่างๆในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา และได้แสดงความกังวลถึงปริมาณสำรองไฟฟ้าขณะนี้ที่สูงถึง 50% จนอาจกระทบกับค่าไฟฟ้าที่ประชาชนต้องแบกรับภาระมากขึ้น จึงได้มีข้อเสนอให้แก้ไข เช่น ให้ยุติโรงไฟฟ้าที่ยังไม่ได้ทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) เป็นต้น  เรื่องนี้นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเปิดเผยว่า ปริมาณสำรองไฟฟ้าที่สูงนั้นเป็นเรื่องของสถานการณ์ในปัจจุบันซึ่งจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เนื่องจากความต้องการใช้ไฟฟ้าได้ลดลงตามทิศทางของการชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ซึ่งคาดว่าภายใน 2 ปีข้างหน้าเศรษฐกิจก็จะกลับมาฟื้นตัวและทำให้การใช้ไฟฟ้าจะกลับมาอยู่ในระดับเดิมได้ นอกจากนี้ ในระยะยาวยังต้องคำนึงถึงความต้องการใช้ไฟฟ้าใหม่ๆที่จะเกิดขึ้นว่าจะมีทิศทางอย่างไรประกอบด้วย...

ถ้าให้เอกชนเข้ามาขายไฟฟ้า ค่าไฟจะแพงขึ้น เพราะเอกชนก็จะเอาแต่กำไรสูง ๆ จริงหรือ ?

Q: ถ้าให้เอกชนเข้ามาขายไฟฟ้า ค่าไฟจะแพงขึ้น เพราะเอกชนก็จะเอาแต่กำไรสูง ๆ จริงหรือ ? A: ไม่จริงค่ะ การให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตไฟฟ้านั้น ทำผ่านกลไกการแข่งขันซึ่งทำให้ได้ต้นทุนถูกที่สุด โรงไฟฟ้าเอกชนที่จะได้สร้างต้องชนะการประมูลแข่งขัน โดยราคาที่เข้าประมูลจะต้องต่ำกว่าต้นทุนสร้างโรงไฟฟ้าของ กฟผ. ในช่วงนั้น ๆ จึงไม่ได้เป็นการเพิ่มภาระค่าไฟสำหรับผู้บริโภคค่ะ เพราะถ้าเอกชนไม่ได้สร้าง กฟผ. ก็จะเป็นผู้สร้างเอง ซึ่งอาจจะแพงกว่าที่เอกชนประมูลก็ได้ จริงอยู่ กำไรเอกชนเข้ากระเป๋านายทุน แต่ก็ไม่แปลกเพราะเงินลงทุนมาจากเอกชน และเขาต้องจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลให้รัฐก่อน นอกจากนี้ ระบบของเอกชนมีความคล่องตัว...

MOST POPULAR